ภายหลังการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ในประเทศไทยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (brown planthopper (BPH): Nilaparvata lugens Stal) ช่วงปี พ.ศ. 2552-54 ซึ่งเป็นการระบาดรอบใหญ่ครั้งที่ 4 ของประเทศไทย สร้างความเสียภายให้กับนาข้าวเขตภาคกลาง ภาคเหนืิอตอนล่างและภาคตะวันตกเป็นอย่างมาก
ช่วงนั้นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดื้อยาหลายชนิด สร้างความตื้นตัวให้กับนักวิชาการเกี่ยวกับการดื้อยาของแมลงเป็นอย่างมาก เป็นที่มาของฉลากยาแมลงที่พาดหัวฉลากยาว่า "ห้ามใช้ในนาข้าว"
ภายหลังไม่นานมีรายงาน การดื้อยาข้ามกลุ่มสารกำจัดแมลงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ระหว่างกลุ่ม 4A กับ กลุ่ม 9 ซึ่งเป็นผลมาจากเพลี้ยดื้อยากลุ่ม 4 แล้วกระโดดข้ามไปดื้อยากลุ่ม 9 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเอนไซม์ไซโตโครม พี450 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายยากลุ่ม 4 ได้ดี แต่เจ้ากรรมเอนไซม์ดังกล่าวกลับมีผลไปย่อยสลายยากลุ่ม 9 ได้ดีไปด้วย จึงเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์
หรือ.? เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียนจะเป็นรายถัดไป เพราะเพลี้ยทั้งคู่อยู่ในอันดับเฮมิพเทอร่า (Hemiptera) เหมือนกัน
Mardubai by James Thirasak
มือถือ. 082-353-5156
อีเมล. thirasak.chuchoet@gmail.com
ร้านหัวถนนการเกษตร-289
เลขที่ 52/4 ถ.นครศรีฯ-ปากพนัง ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
80000