Logo

แพคโคลบิวทราโซลผสมเหล้าขาว40ดีกรี..?

Thirasak Chuchoet • October 7, 2024
แพคโคลบิวทราโซลผสมเหล้าขาว40ดีกรี..?
เกี่ยวกับสารแพคโคลบิวทราโซล

   "แพคโคลบิวทราโซล" เป็นสารเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างสาร​เคมี​: ไตรอะโซล​ (Triazole​ chemical structure) มีฤทธิ์ทางยา​ 2 ลักษณะ​ คือ​ เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืช​ (Fungicide)​ และเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโต​ (Plant​ growth​ regulator มีชื่อย่อว่า​ PGR หรือ​ พีจีอาร์)​ 

คุณสมบัติทางยา

   แพคโคลบิวทราโซล แม้มีฤทธิ์​ทางยาเป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืช​ แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีฤทธิ์​ทางการรักษาและปกป้องโรคพืชต่ำมาก​แม้ใช้ในอัตราที่สูง​ ส่วนสารในกลุ่มเคมีไตรอะโซลที่มีฤทธิ์​ทางป้องกันและกำจัดโรคพืช​ เช่น​ ไดฟิโนโคลนาโซล, โพรพิโคนาโซล, เฮกซะโคลนาโซล, ทีบูโคนาโซล, ไซโปรโคนาโซล, อีพ็อกซี่โคนาโซล, ฟลูซิลาโซล, มัยโคลบิวทานิล, เตตระโคนาโซล, ไตรอะดิมีฟอน​ เป็นต้น

คุณสมบัติควบคุมการเจริญเติบโต​

   แพคโคลบิวทราโซล​ มีคุณสมบัติ​หลักคือ​ เป็นสารควบคุม​การเจริญ​เติบโต​ ​หรือ​ PGR​ มีกลไกออกฤทธิ์​ยับยั้งการสังเคราะห์ฮอร์โมน ​“จิบเบอเรลลิน” ของพืช​ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโต​ด้าน​การเจริญของกิ่ง​ ก้าน​ ลำต้น​ ใบ​ (ความเยาว์​วัย)​ ในกระบวนการแบ่งเซลล์ของพืช​ (Vegetative growth - cell division) โดยชะลอหรือยับยั้งการเจริญ​ จึงจัดอยู่ในหมวดหมู่​ “สารควบคุมการเจริญเติบโต​ กลุ่มย่อย​ ; สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช”

    ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว​ จึงนิยมใช้เพื่อชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโต​ เช่น​

    1. การลดขนาดทรงพุ่มในไม้ดอกไม้ประดับ

    2. ชะลอการเจริญของบอนไซ​ 

    3. ใช้ในองุ่น​ ฝ้าย​ 

    4. พริก​ มะเขือเทศ​ (หลักๆ​ ผมใช้ในการควบคุมการเจริญระยะต้นกล้าไม่ให้สูงเกินไป​ เมื่อยังไม่พร้อมย้ายกล้าปลูกและอายุต้นกล้ามากกว่า​ 22-25 วัน)​ 

    5. ข้าว​ พ่นเพื่อลดความสูงของต้น​ข้าว​ โดยพ่นก่อนข้าวตั้งท้อง​ 19-21 วัน

    6. ไม้ผล​ พ่นเพื่อส่งเสริมการออกดอกนอกฤดูหรือเพื่อการออกดอกที่สม่ำเสมอและพร้อมเพรียง​กันของไม้ผล​ เช่น​ มะม่วง​ ทุเรียน​ ส้ม​ ส้มโอ​ มะนาว​ โดยพ่นในระยะใบเพสลาด​ ซึ่งเป็นช่วงที่ใบยังพัฒนาไม่สมบูรณ์​ ไขเคลือบผิวใบ​ (แว๊กซ์​ ; Wax) ยังอ่อนนิ่ม​ ไม่หนา​ และมีช่องว่างระหว่างชั้นไขเคลือบผิวใบหลวมๆ​ สารแพคโคลฯ​ จึงซึมซาบ​เข้าสู่ใบได้ดีกว่าในใบแก่​ สำหรับในมะม่วงการใช้สารแพคโคลฯ​ ดั้งเดิม​ใช้ราดทางดิน​ เนื่องจากดูดซึมได้ดีกว่าการพ่นทางใบ​ ส่วนในทุเรียนการราดทางดินจะทำให้รากชะงักงัน​ เป็นปม​ และทำให้ต้นทรุดโทรมได้ง่าย​ จึงนิยมใช้พ่นทางใบ

การผสมสารแพคโคลร่วมกับแอลกอฮอล์​

    มีคำถามสอบถาม​เข้ามาว่า​ การพ่นสารแพคโคลฯ​ โดยผสมร่วมกับแอลกอฮอล์​ หรือจะกล่าวให้ถูกคือ​ มีการประยุกต์ใช้​เหล้าขาว​ผสมไปด้วย​ จะให้ผลในการส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่านั้นจริงหรือไม่.?

    โดยส่วนตัวไม่มีประสบการณ์​การใช้ลักษณะ​นี้​ และไม่เคยทดสอบ​ ดังนั้นจึงกล่าวได้ไม่เต็มปากนัก​ แต่ให้ข้อสังเกตุดังนี้

"แพคโคลบิวทราโซล​ 10% และ​ 15% : เป็นชนิดผงละเอียด​ เมื่อละลายน้ำพ่นจะเป็นสารแขวนลอย​ และอาจมีสารบางส่วนละลายแตกตัวออกมา​ โดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย"

   แพคโคลบิวทราโซล​ 25% : เป็นชนิดน้ำครีม​ ซึ่งอาจเข้าใจกันว่า​“สารเนื้อครีมเป็นสารละลาย” เมื่อละลายในน้ำจะได้เป็นสารละลายหรือสารเนื้อเดียวกับน้ำ​ แต่นั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน​

    สารเนื้อครีม​ อันที่จริงคือสารในรูปผงที่ละเอียดกว่าสารผงทั่วไป​ และแขวนลอยอยู่ในของเหลว​ (ของเหลวส่วนใหญ่เป็นน้ำ)​ ซึ่งบางผลิตภัณฑ์​อาจเติมสารช่วยให้แขวนลอย​ เพื่อกันสารตกตะกอน​นอนก้นขวด

    เมื่อผสมกับน้ำ​ สารเนื้อครีมก็ยังคงได้ลักษณะ​เหมือนสารผง​ คือ​ เป็นสารแขวนลอยอยู่ในน้ำ​ และอาจมีสารบางส่วนละลายน้ำได้

   แอลกอฮอล์​ และเหล้าขาว​ (35​ และ​ 40​ ดีกรี)​ : มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลาย​ เช่นเดียวกับสารทำละลายบางชนิด​ เช่น​ ไซลีน​, คีโตน, เอสเทอร์, อีเทอร์, ไกลคอลอีเทอร์​, ไวท์ออยล์​ หรือพาราฟินออยล์

    ดังนั้น​ หากผู้ที่ใช้แพคโคลบิวทราโซลผสมกับเหล้าขาว​ แล้วพบว่า​ ส่งเสริมการออกดอกได้ดีกว่าไม่ผสมเหล้าขาว​ นั้นอาจเป็นเพราะแอลกอฮอล์​ในเหล้าขาวช่วยทำละลายสารแพคโคลบิวทราโซล​ ให้ละลายน้ำได้ดีขึ้น​ ออกฤทธิ์​ได้ดีขึ้น​ก็เป็นไปได้

แล้วทำไมผลิตภัณฑ์แพคโคลบิวทราโซลไม่ใช้แอลกอฮอล์หรือไขมันจากพาราฟินออลย์เป็นตัวทำละลาย

    นั้นอาจเพราะคุณสมบัติทางกายภาพ​ของสารแพคโคลบิวทราโซล​ อาจไม่คงตัวได้นานในสภาพสารละลายในน้ำมัน​ ซึ่งไม่ได้หมายความ​ว่า​ การใช้แพคโคลบิวทราโซล​ มาผสมกับแอลกอฮอล์แล้วพ่นทางใบทันที​จะทำให้สารเสื่อมสภาพ​ แต่ในที่นี้หมายถึง​ ผสมแล้วจัดเก็บไว้นานเป็นสัปดาห์​ เป็นเดือน​ เป็นปี​ ไม่เหมาะสม​ ผลิตภัณฑ์​แพคโคลบิวทราโซล​ จึงนิยมทำออกมาในรูปสารผงและสารเนื้อครีม​ (ก็เป็นได้)

*หมายเหตุ: พาราฟินออยล์​ และไวท์ออยล์​ เป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม​ มีลักษณะ​ใส​ ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น

อัตราใช้แพคโคลบิวทราโซลพ่นทุเรียน :

    การใช้แพคโคลบิวทราโซล​พ่นทุเรียนเพื่อส่งเสริมการออกดอก​จะพ่นในช่วงเวลาคล้ายกับพืชอื่น​ คือ​ พ่นในระยะใบเพสลาด​ (ใบพวง​ ในภาษาชาวสวนมะม่วง)​ ของใบชุดสุดท้ายก่อนการออกดอก​ ปกติหลังพ่นแพคโคลฯ​ ในไม้ผล​ ราวๆ​ 45-60 วัน​ ไม้ผลจะออกดอก​ แต่ในบางครั้ง​ บางฤดู​ บางพืช​ หลังพ่นแพคโคลบิวทราโซล​ 21-30 วัน​ ก็สามารถออกดอกได้

    อัตราใช้ในทุเรียน​ :(จำไม่ได้ว่าอัตราดังกล่าวมาจากงานวิจัย​ของศูนย์วิจัยพืชสวนฯ​ จันทบุรีหรือไม่)​

    อัตราแนะนำจากงานวิจัยฯ​ แนะนำพ่นสารแพคโคล​บิวทราโซล​ ที่ระดับความเข้มข้น​ 1,000-1,500 ppm (หรือ​ 1,000-1,500 มิลลิกรัมของสารแพคโคลฯ​ ต่อน้ำ​ 1 ลิตร)​ โดยพ่นให้เป็นละอองฝอยให้ทั่วใบเพสลาด​ ไม่พ่นจนเปียกโชก​ และควรพ่นในระยะแดดไม่แรง​ หรือไม่พ่นในสภาพอากาศร้อนจัดจนเกินไป

   แพคโค​ลบิว​ท​รา​โซล​ 10% : ความเข้มข้น​ 1,000​-1,500 ppm จะเท่ากับการผสมแพคโคล​ฯ​ 10% ในอัตรา​ 2-3​ กก.ต่อน้ำ​ 200​ ลิตร

   แพคโค​ลบิว​ท​รา​โซล​ 15% : ความเข้มข้น​ 1,000​-1,500 ppm จะเท่ากับการผสมแพคโคล​ฯ​ 15% ในอัตรา​ 1.3-2​ กก.ต่อน้ำ​ 200​ ลิตร

   แพคโค​ลบิว​ท​รา​โซล​ 25% : ความเข้มข้น​ 1,000​-1,500 ppm จะเท่ากับการผสมแพคโคล​ฯ​ 25% ในอัตรา​ ​800-1,200​ ซี.ซี.ต่อน้ำ​ 200​ ลิตร

**นอกจากนี้​ ยังมีการประยุกต์ใช้แพคโคลบิวทราโซล ในอัตราต่ำกว่าคำแนะนำดังกล่าว​ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพฤติกรรม​การพ่นสารในลักษณะ​เปียกโชก​ (จนสาร​ย้อยไหลเป็นทางตกลงพื้นดิน)​ เช่น​ แพคโคล​ฯ​ 25% อัตรา​ 400-600 ซี.ซี.​ต่อน้ำ​ 200​ ลิตร​ เป็นต้น

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา ไม่ใช่ว่าระยะใบอ่อนต้องการไนโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่ำ..
More Posts
Share by: