Logo

ปฏิสัมพันธ์ธาตุอาหารพืช: “Mulder's Chart"

Thirasak Chuchoet • December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช: “Mulder's Chart: Nutrient Interactions”

ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช Ep.1 : ธาตุที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน และธาตุที่เสริมประโยชน์ต่อกัน 

    แผนผัง Mulder’s Chart of Nutrient Interactions หรือแผนผังปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืชโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ (Nederland) ที่ชื่อ “มิลเดอร์” แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืช (plant nutrients) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต

   หลักการสำคัญของแผนผังนี้คือ ธาตุอาหารแต่ละชนิดไม่ได้ทำงานแยกกันอย่างโดดเดี่ยว แต่จะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจส่งผลเสริมความเป็นประโยชน์ (Synergism; ผลบวก) หรือขัดขวางการทำงานของกันและกันก็ได้ (Antagonism; ผลเสียหรือเป็นปรปักษ์ต่อกัน) โดยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านต่างประกอบการเสริมประโยชน์หรือเป็นปรปักษ์ของธาตุต่างๆ

การแบ่งปฏิสัมพันธ์ธาตุอาหารพืช

    แผนผังของมิลเดอร์ในอดีต (ค.ศ.1953 หรือ พ.ศ.2496) ประกอบด้วยธาตุอาหารพืช 11 ตัว ในปัจจุบันมีการเพิ่มเติมธาตุต่างๆ ทั้งที่เป็นธาตุอาหารพืชและธาตุเสริมประโยชน์ รวม 23 ธาตุ โดยแบ่งปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารออกเป็น 2 ลักษณะ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแผนผังเดิมในปี ค.ศ.1953 ดังนี้

   ธาตุอาหารในแผนผังของมิลเดอร์

     1. ธาตุอาหารหลัก (Macronutrients): ธาตุหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K) และ ธาตุรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ในแผนผังไม่ระบุกำมะถัน (S)

     2. จุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม (Micronutrients): ได้แก่ เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), ทองแดง (Cu), สังกะสี (Zn), โบรอน (B), และโมลิบดีนัม (Mo) ในแผนผังไม่ระบุคลอรีนหรือคลอไรด์ (Cl)

    ปฏิสัมพันธ์ธาตุอาหารพืช แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

    1. ปฏิสัมพันธ์ด้านปฏิปักษ์ (Antagonism): เกิดขึ้นเมื่อธาตุอาหาร 2 ชนิดขึ้นไปแข่งขันกันในการดูดซึม ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งได้น้อยลง หรืออาจทำให้เกิดสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้พืชดูดซึมไม่ได้ ตัวอย่างเช่น

       1.1) ขนาดไอออนใกล้เคียงกันและมีประจุเหมือนกัน; เช่น

           ธาตุไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม (NH4+) ที่มีปริมาณมากจะลดการดูดซึมของธาตุโพแทสเซียม (K+)

       1.2) ประจุเหมือนกันผลักกัน; เช่น

           ธาตุโซเดียม (Na2+) หากมีปริมาณมากจะผลักธาตุโพแทสเซียม (K+) จนทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารที่ใบแก่และลุกลามไปยังใบอ่อน

           ธาตุแคลเซียม (Ca2+) หากมีปริมาณมากจะผลักธาตุโพแทสเซียม (K+) ธาตุแมกนีเซียม (Mg2+) ธาตุเหล็ก (Fe2+, Fe3+) ธาตุสังกะสี (Zn2+) และธาตุแมงกานีส (Mn2+) จนทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุ

           ธาตุแมกนีเซียม (Mg2+) กับธาตุโพแทสเซียม (K+) หากธาตุใดธาตุหนึ่งมีปริมาณที่มากกว่าอีกธาตุมากๆ จะผลักอีกธาตุหนึ่ง (พวกมากรังแกพวกน้อย)

           ธาตุแมงกานีส (Mn2+) หากมีปริมาณมากจะผลักธาตุเหล็ก (Fe2+, Fe3+) ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารที่ใบอ่อน

           ธาตุสังกะสี (Zn2+) หากมีปริมาณมากจะผลักธาตุเหล็ก (Fe2+, Fe3+) ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารที่ใบอ่อน

           ธาตุคอปเปอร์ หรือทองแดง (Cu2+) หากมีปริมาณมากจะผลักธาตุเหล็ก (Fe2+, Fe3+) และธาตุแมงกานีส (Mn2+) ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารที่ใบอ่อน

         1.3) ประจุต่างกันเกิดแรงดึงทำให้เกิดสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ; เช่น

           ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟต (H2PO4-, HPO42-, PO43-) สภาพดินมีค่า pH ตั้งแต่ 6.8 ขึ้นไปจะรวมตัวกับธาตุแคลเซียม (Ca2+) 3 ธาตุ เกิดเป็นสารประกอบไตรแคลเซียมฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำและพืชดูดซึมได้ยาก

           ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟต (H2PO4-, HPO42-, PO43-) ในสภาพดินเป็นกรดจะรวมตัวกับธาตุเหล็ก (Fe2+, Fe3+) เกิดเป็นสารประกอบหินฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำและพืชดูดซึมได้ยาก

           ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟต (H2PO4-, HPO42-, PO43-) หากมีปริมาณมากจะรวมตัวกับธาตุสังกะสี (Zn2+) หรือธาตุทองแดง (Cu2+) เกิดเป็นสารประกอบหินฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำและพืชดูดซึมได้ยาก

         1.4) ธาตุใดมีมากลดบทบาทธาตุอื่น (ประจุต่างกันหรือเหมือนกัน); เช่น

           ธาตุฟอสฟอรัส (P) ลดบทบาทหรือความเป็นประโยชน์ของธาตุโพแทสเซียม (K)

           ธาตุไนโตรเจน (N) หากมีในประมาณมากเกินไปจะลดบทบาทหรือความเป็นประโยชน์ของธาตุโพแทสเซียม (K) ธาตุทองแดง (Cu) และธาตุโบรอน (B)

           ธาตุโพแทสเซียม (K) และธาตุแคลเซียม (Ca) หากมีในประมาณมากเกินไปจะลดบทบาทหรือความเป็นประโยชน์ของธาตุโบรอน (B)

     2. ปฏิสัมพันธ์ด้านเสริมประโยชน์ (Synergism): เกิดขึ้นเมื่อธาตุอาหาร 2 ชนิดขึ้นไปช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานหรือความเป็นประโยชน์ของธาตุซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้พืชดูดซึมและใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

       2.1) เมื่อพืชได้รับธาตุไนโตรเจน (N) ในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุแมกนีเซียม (Mg)

       2.2) เมื่อพืชได้รับธาตุโมลิบดินั่ม (Mo) ในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งเสริมการดูดซึมธาตุไนโตรเจน (N) และธาตุทองแดง (Cu)

       2.3) เมื่อพืชได้รับธาตุแมงกานีส (Mn) ในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งเสริมการดูดซึมธาตุโพแทสเซียม (K) และในขณะเดียวกันเมื่อพืชได้รับธาตุโพแทสเซียม (K) อย่างเพียงพอ จะส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก (Fe)

       2.4) การมีธาตุฟอสฟอรัส (P) หรือ มีธาตุแมกนีเซียม (Mg) ในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งเสริมความเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน

   ธาตุเหล่านี้ถูกจัดเรียงในแผนผังภาพวงกลมเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเส้นและลูกศรที่อธิบายความสัมพันธ์ ดังนี้

       เส้นสีเขียว (Synergism): แสดงความสัมพันธ์ที่เสริมประโยชน์ โดยธาตุที่อยู่ต้นทางของเส้นหรือหัวลูกศร จะเป็นธาตุที่ช่วยส่งเสริมให้อีกธาตุทางฝั่งปลายหัวลูกศรมีความประโยชน์เพิ่มขึ้น

       เส้นสีแดง (Antagonism): แสดงความสัมพันธ์ที่ขัดขวางหรือเป็นปรปักษ์ต่อกัน โดยธาตุที่อยู่ต้นทางของเส้นหรือหัวลูกศร จะเป็นธาตุที่ขัดขวางหรือลดความเป็นประโยชน์ของอีกธาตุที่อยู่ฝั่งปลายหัวลูกศร

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา ไม่ใช่ว่าระยะใบอ่อนต้องการไนโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่ำ..
More Posts
Share by: