Logo

โรคใบจุดในมะละกอ

Thirasak Chuchoet • October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอและการป้องกัน
โรคใบจุดในมะละกอ (Papaya Leaf Spot Disease)

    โรคใบจุดในมะละกอเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชและคุณภาพของผลผลิต การแพร่ระบาดของโรคนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง หรือในช่วงที่ฝนตกหนัก ซึ่งเชื้อรามักเจริญเติบโตได้ดี

สาเหตุของโรคใบจุดในมะละกอ

    โรคใบจุดในมะละกอมักเกิดจากเชื้อราในสกุลคอรีนีสปอร่า (Corynespora) เซอคอสปอร่า (Cercospora) และแอสโคไคต้า (Ascochyta) ซึ่งมีลักษณะการเจริญเติบโตที่ทำให้ใบมะละกอเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ และบางครั้งอาจมีลักษณะเป็นวงกลมสีเหลืองล้อมรอบ การระบาดของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อรา เช่น ความชื้นสูงและอุณหภูมิที่เหมาะสม

โรคใบจุดมะละกอที่พบบ่อย (ในประเทศไทย)

    โรคใบจุดคอรีนีสปอร่า​ ในมะละกอ​ (Brown spot diseases)

    เชื้อราสาเหตุ:คอรีนีสปอร่า​ แคสไซอิคอล่า (Corynespora cassiicola)

    ลักษณะ​อาการ

    โรคสามารถ​เกิดขึ้นได้ทั้งที่ใบและผลของมะละกอ​ เป็นโรคที่สำคัญและพบได้บ่อย​ ในระยะแรกอาการที่ปรากฏบนใบจะเป็นแผลจุดขนาดเล็ก​ ​เท่าปลายปากกา​ แผลเป็นจุดช้ำสีขาว​ เนื้อใบรอบจุดมีอาการเหลืองล้อมรอบ​ เมื่อแผลขนายขนาดขึ้นจะเริ่มเห็นขอบแผลชัดเจนขึ้นและมีสีน้ำตาล​ ตรงกลางแผลยังคงเป็นสีขาวหรือสีเทา​ แผลกระจายตามหน้าใบมะละกอ​ เมื่อแผลพัฒนาขึ้นตรงกลางแผลจะแตกทะลุ

     โรคใบจุดตากบ​ หรือโรคใบจุดสีน้ำตาล​ (Cercospora black spot)​

    เชื้อราสาเหตุ:เซอคอสปอร่า​ ปาปายี้​ (Cercospora papayae)

    ลักษณะ​อาการ

    โรคเกิดขึ้นได้ทั้งที่ใบและผล​ พบได้บ่อยเช่นเดียวกับโรคใบจุดคอรีนีสปอร่า​ ในระยะแรกแผลที่ปรากฏเป็นจุดขนาดเล็กเท่าปลายปากกา​ จุดมีสีน้ำตาลอ่อนและเนื้อใบรอบแผลจุดมีสีเหลือง​ ต่อมาเมื่อแผลขยายขนาดขึ้นตรงกลางแผลจะมีสีน้ำตาล​ ขอบแผลช้ำสีเข้ม​ เมื่อแผลพัฒนามากขึ้นจะมีขนาดใหญ่กลางแผลเป็นจุดกลมสีขาว​ ครอบด้วยวงแผลสีน้ำตาล​ และขอบแผลช้ำสีคล้ำ​ บางครั้งแผลจุดอาจครอบด้วยวงแผลสีน้ำตาล​ 3-6 ชั้น

การป้องกันและการจัดการโรค

   1. การดูแลพื้นที่ปลูก: การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการระบายอากาศที่ดี จะช่วยลดความชื้นที่เป็นสาเหตุหลักของการเจริญเติบโตของเชื้อรา การตัดแต่งใบที่หนาแน่นเกินไปจะช่วยให้แสงแดดส่องถึงและลดโอกาสในการเกิดโรค

   2. การใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อรา:

   การป้องกัน

    พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช​ กลุ่ม​ 11+3 เช่น​ ทวินโป(อะซอกซี่สะโตรบิน+ไดฟิโนโคนาโซล​ 20%+12.5% SC)​ สารเนื้อครีมไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้​ หรือใบและผลแพ้ยา​ พ่นในอัตรา​ 10 ซี.ซี.​ต่อน้ำ​ 20 ลิตร​ ควรผสมร่วมกับ​ พีโคล70(โพรพิเนบ​ 70% WP)​ สารผงละเอียดสีขาว​ เนื้อฟู​ ละลายน้ำง่าย​ ไม่เป็นตะกอน​ และมีธาตุสังกะสีส่งเสริมให้ผลผิวนวล​ ใบเขียว​ อัตรา​ 30-50​ กรัม​ ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร​ พ่นอย่างน้อย​ 2 ครั้ง​ แล้วสลับพ่นด้วย​ พีโคล​70​ จำนวน​ 1 ครั้ง​ แล้วจึงวนกลับไปพ่น ​ทวินโป​ ผสม​ พีโคล70​ เช่นเดิม และวนสลับสารเช่นนี้เรื่อยๆ​ โดยการพ่นแต่ละรอบห่างกัน​ 10-14 วัน​ นอกจากป้องกันโรคแล้วยังป้องกันการดื้อยาของโรคอีกด้วย

   การกำจัด

    เมื่อ​พบการระบาดของโรค​ แนะนำพ่นด้วยสารกลุ่ม​ 11+3 เช่นกัน​ โดยพ่น​ ทวินโปอัตรา​ 15-20​ ซี.ซี.​ ผสม พีโคล70​ อัตรา​ 50-60​ กรัม​ ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร​ พ่นต่อเนื่อง​ 2-3​ ครั้ง​ ห่างกัน​ 4-5​ วัน

   3. การกำจัดใบที่ติดโรค:ควรทำการตัดใบที่ติดเชื้อออกจากต้นอย่างรวดเร็วและนำไปทำลายเพื่อลดการแพร่กระจายของโรค

   4. การปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค: การเลือกใช้พันธุ์มะละกอที่มีความต้านทานต่อโรคใบจุด จะช่วยลดปัญหานี้ในระยะยาว

สรุป

    โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง การป้องกันและจัดการโรคนี้ต้องใช้ความใส่ใจในการดูแลรักษาและควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การใช้สารป้องกันเชื้อราอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อ และการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาและป้องกันโรคนี้ให้ได้ผลดี

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา ไม่ใช่ว่าระยะใบอ่อนต้องการไนโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่ำ..
More Posts
Share by: