Logo

มิลินทปัญหา "ถาม-ตอบปัญหาเรื่องการใช้ปุ๋ยในไม้ผล"

Thirasak Chuchoet • September 30, 2024
มิลินทปัญหา การถาม-ตอบปัญหาเรื่องการใช้ปุ๋ยในไม้ผล
มิลินทปัญหา การถาม-ตอบปัญหาเรื่องการใช้ปุ๋ยในไม้ผล

ถาม​ : แอดครับ 13-0-46 กับ ปุ๋ย กลางท้ายสูงนี่ บริบทกระตุ้นการออกดอก เหมือนกันไหมครับ.? 

ตอบ​ : หลักการคล้ายๆ​ กัน ปุ๋ยสูตรกลาง-ท้ายสูง​ เช่น​ 0-52-34​ (monopotassium phosphate; MKP, สูตรเคมี​ KH2PO4) จะกระตุ้นการสะสมน้ำตาลของพืช​ (เคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบแก่​ โดยปุ๋ยตัวท้าย​ [ธาตุโพแทสเซียม​, K])​ และไม่มีไนโตรเจน​ (N)​ จึงลดการเกิดตาใบ​ ตาแขนง เมื่อต้นพร้อมก็พัฒนาตาดอกได้

    ปุ๋ยสูตร​ 13-0-46​ มีไนโตรเจน​ (N)​ ที่อยู่​ในรูปไนเตรท​ (nitrate, สูตรเคมี NO3-)​ ซึ่งไนเตรทมีคุณสมบัติเป็นสารกระตุ้นชีวภาพหรือกระตุ้นการเจริญ​ 

    การพ่นปุ๋ย​ 13-0-46​ ไปบริเวณที่จะเกิดตาดอก​ จึงเป็นการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเจริญ​พัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อตาดอกหรือตาใบ​​ เมื่อปุ๋ย​ 13-0-46​ มีโพแทสเซียม​สูง​ และต้นสะสมอาหารมาอย่างเพียงพอก็จะพัฒนา​เป็นตาดอกมากกว่าตาใบ

    เห็นไหมว่า​ มีความคล้ายหรือต่อเนื่องกัน​ แต่บริบทไม่เหมือนกัน

  *ในทางวิชาการ​ “สารกระตุ้นชีวภาพ​; ไบโอสติมิว ​(biostimulants​​)” ถูกใช้ครั้งแรกในการประชุมนานาชาติที่ประเทศฝรั่งเศส เมืองสตราสบูร์ก ในเดือนพ.ย.​ 2555 ในการประชุมสหภาพแห่งโลกว่าด้วยการใช้สารเร่งเชิงชีวภาพในการเกษตร ครั้งที่ 1 (First World Congress of the Use of Biostimulants in Agriculture))​

ถาม​ : แอด.. แล้วการสะสมอาหารกับ​ C:N​ เรโช​ คือยังไง.? 

ตอบ​ : การสะสมอาหารมักกล่าวถึงเรื่อง​“สัดส่วนระหว่าง​ซี​ ต่อ​ เอ็น​ (C:N​ ratio)​”​ โดย​ซี​ (C) ต้องมากกว่าเอ็น​ (N)​ จึงจะส่งผลต่อการเกิดตาดอก​ (ตามที่ทราบกันทั่วไป)​ ซึ่งขอขยายความดังนี้

   “ซี​” คือ​ คาร์บอน​ (Carbon; C)​ ซึ่งในความหมายของ​สัดส่วน​ซี​ (C)​ จะกล่าวถึง​“สารประกอบ​คาร์บอน​ (Carbon compound)”

   สารประกอบคาร์บอน​ คือ​ สารใด ๆ​ หรือธาตุใด ๆ​ ที่รวมตัวกันเป็นสารชนิดหนึ่ง ๆ​ (โมเลกุล)​ แล้วมีธาตุคาร์บอน​ (ซี​; C)​ เป็น​องค์ประกอบหลัก​ โดยทั่วไปในการสะสมอาหารจึงมักกล่าวถึง​“การสะสมคาร์โบไฮเดรต​และน้ำตาล​” น้ำตาลหลาย ๆ​ โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันเป็นคาร์โบไฮเดรตและแป้ง​ และน้ำตาลที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดได้มาจากการสังเคราะห์​แสงของพืช​ คือ​ น้ำตาลกลูโคส​ หรือในอีก​ชื่อคือ​ เด็กซ์โตรสโมโนไฮเดรต​ พืชสะสมน้ำตาลในรูปของแป้งหรือเซลลูโลส​ และน้ำตาลคือแหล่งพลังงาน​ที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

    สารประกอบ​คาร์บอนอื่น ๆ​ เช่น​ กรดไขมัน​ และกรดอะมิโน-โปรตีน​ และสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ​ สำหรับการสะสมอาหารของพืชเพื่อสร้างตาดอก​ มักกล่าวถึงเพียงคาร์โบไฮเดรต​และหลงลืมตัวอื่น

   “เอ็น” คือ​ ไนโตรเจน​ (Nitrogen; N) สำหรับการสะสมอาหาร​โดยทั่วไป​จะกล่าวถึงการลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนหรืองดหว่านปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง​ แต่หากพิจารณา​หลักการทางสรีระของพืช​โดยเฉพาะ​เรื่องการใช้สารอาหารและปุ๋ยเพื่อการเจริญพัฒนาของไม้ยืนต้นและไม้ผลของ​ Legaz และคณะ​ (ค.ศ. 1982) และ​ Dasberg (ค.ศ. 1983 และ​ 1987) จะพบว่า​ การหว่านปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่พืช​ จะมีไนโตรเจนเพียง​ 20% เท่านั้น​ ที่พืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต​และส่วนใหญ่​นำไปใช้เพื่อการสร้างตาใบและตาดอก​ ที่เหลือจะนำปุ๋ยและสารอาหารที่สะสมไว้ในต้นมาใช้​ ส่วนปุ๋ยที่หว่านให้พืชอีก​ 80% จะถูกนำไปเก็บสะสมในลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่“พืชเปลี่ยน​ไนโตรเจนเป็นกรดอะมิโนและโปรตีน​ และยามขาดแคลนไนโตรเจน พืชจะสลายกรดอะมิโนเพื่อให้ได้ไนโตรเจน​”

    เมื่อไนโตรเจนเข้าสู่รากพืช​ พืชจะเปลี่ยน​ไนโตรเจนเป็นกรดอะมิโน​ (สังเคราะห์​กรดอะมิโน)​ ได้ทั้งที่รากและที่ใบ ซึ่งกรดอะมิโนจัดว่าเป็นแหล่งไนโตรเจนสำรองของพืช​ แต่ในภาวะปกติไม่ถือว่าเป็นไนโตรเจน​ แต่จะเป็นกรดอะมิโน-โปรตีน​ เรียกในภาพรวมใหญ่ ๆ​ ว่า​ สารประกอบคาร์บอน​ (C-compounds)​ เนื่องจากองค์ประกอบ​ของกรดอะมิโนส่วนใหญ่​เป็นธาตุคาร์บอน​ ดังสูตรโครงสร้างเคมีของกรดอะมิโนอย่างง่าย​ คือ​ NH2-CHR-COOH โดย​ R​ จะเป็นแขนงที่เป็นธาตุใด ๆ​ ก็ได้​ รวมถึง​ C​ และทำให้เกิดกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ​ การเปลี่ยนไนโตรเจนเป็นกรดอะมิโนจะมีเอนไซม์เป็นตัวสังเคราะห์​ และเอนไซม์​มีธาตุโพแทสเซียม​เป็นตัวปลุกฤทธิ์​หรือกระตุ้นการทำงาน และโพแทสเซียม​ (K)​ แม้ไม่ได้เป็นองค์​ประกอบใด ๆ​ ในพืช​ (เลย)​ แต่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการมากมายในพืช​ เช่น

    1. ควบคุมการเปิด-ปิดปากใบ​ จึงมีผลต่อการสังเคราะห์​แสง​ เพื่อให้ได้น้ำตาล

    2. ควบคุมแรงดันภายในเซลล์​ ส่งผลต่อการขยายขนาด​ทั้งขนาดใบ​ กิ่ง​ ก้าน​ ดอก​ และผล​ โดยมีน้ำเป็นตัวทำให้เกิดการขยายขนาดเซลล์

    3. ควบคุมศักย์ออสโมซีส​ จึงสำคัญต่อการเข้าออกของสารต่าง ๆ​ ของเซลล์​

    4. ควบคุมและเป็นตัวทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบที่สังเคราะห์​แสง​ไปยังส่วนต่างๆ​ รวมถึงการสะสมอาหาร

    5. ควบคุมความเป็นกรด-ด่างภายในเซลล์

    6. กระตุ้นการทำงานต่าง ๆ​ ภายในระดับเซลล์​ ผ่านการเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์

    7.​ เป็นตัวส่งสัญญาณบางประการในพืช​ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม​ โรค​ แมลง

    8.​ พืชที่มีโพแทสเซียม​เพียงพอ​ จะทำให้ทนทานต่อโรคมากกว่าพืชที่ขาดโพแทสเซียม​ หรือพืชที่ได้รับไนโตรเจนมากเกินไป

    9.​ ความแข็งแรงของเปลือก​ ลำต้น​ กิ่ง​ เป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายน้ำตาล​ และสารอาหารอื่น ๆ​ เช่น​ กรดอะมิโน

    ต้องอย่าลืมว่า​ปุ๋ยที่พืชดูดใช้ผ่านราก​ส่วนใหญ่​ (คิดว่ามากกว่า​ 80-90%) จะถูกลำเลียงไปยังใบแก่มากกว่าส่วนอื่น​ โดยเฉพาะ​ใบแก่ที่ได้รับแสงอย่างเพียงพอ​ เพราะการลำเลียงปุ๋ยจากราก​จะไปพร้อมกับน้ำภายในท่อลำเลียงน้ำ​ และน้ำในท่อนี้จะลำเลียงได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราการคายน้ำ​ การคายน้ำเป็นกระบวนการที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์​แสง

    ดังนั้น​ การใช้ปุ๋ยตามความคิดที่ว่า​ ต้องการสร้างใบ​ เร่งยอด​ หรือทำชุดใบใหม่​ ต้องใช้ปุ๋ยตัวหน้าสูง ๆ​​ จึงเป็นวิธีการที่ทำให้พืชได้รับธาตุใดธาตุหนึ่งแบบมากเกินพอดีหรือบางธาตุก็น้อยไป

    กรณีใช้ไนโตรเจนมาก ๆ​ เช่น​ หว่านปุ๋ยสูตร​ 46-0-0, 25-7-7, 12-3-3 จึงทำให้พืชอ่อนแอ​ และเป็นโรคง่าย

ถาม​ : ครับ แล้วเราจะเลือกยังงัย ให้ตรงกับจังหวะ หรือความต้องการของพืชครับ.? 

ตอบ​ : การใช้ปุ๋ยให้ตรงจังหวะ​ โดยส่วนตัวผมจะหมายถึง​ การใช้ปุ๋ยเพื่อปรับพฤติกรรมของพืชบางประการเท่านั้น​ เช่น ช่วงต้องการสร้างหรือเตรียมต้นก่อนทำดอก​ จะใช้ปุ๋ยสูตร​ 8-24-24​ (สูตรมหาชน แต่ส่วนตัวไม่แนะนำ)​, 14-7-35, 10-10-30 หรือ 14-10-30

    ช่วงก่อนเก็บเกี่ยว​ก็เช่นกัน​ จะใช้ปุ๋ยสูตร​ 15-5-25, 15-5-35, 14-7-35 ประมาณนี้

ถาม​ : พืชแต่ละตัวจังหวะก็ไม่เหมือนกันด้วยสิ.? 

ตอบ​ : แบ่งจังหวะง่ายมาก​

    ในพืชไม้ผลลุกให้ผล​ เช่น​ พริก​ มะเขือ​ พืชตระกูล​แตง​ ระยะปลูกใหม่ ๆ​ ก่อนออกดอก หรือไม้ผลปลูกใหม่​ และไม้ผลที่ให้ผลหลายรุ่นต่อปี​ จะใช้ปุ๋ยสัดส่วน​ N-P-K​ ​หน้า-ท้าย​ เสมอกัน​ หรือโยกหน้านิดหน่อย​ เช่น​ ปุ๋ย​สัดส่วน​ 4-1-3, 3-1-3 ตัวอย่างสูตรปุ๋ย​ คือ​ 21-7-18, 20-8-20, 21-3-21, 22-4-22 หรือ​ 19-9-19

    แต่ถ้าเราหันมาใช้การเร่งการเจริญ​เติบโต​ของใบ​ยอด​ กิ่งก้านและลำต้น​ ด้วยการพ่นทางใบ​ เช่น​ กระตุ้นการแตกยอดอ่อนด้วยสาหร่ายทะเล​ ผสม ปุ๋ยเกล็ดทางใบ​ 15-0-0​ การใช้ปุ๋ยทางดินก็อาจใช้ปุ๋ยสูตรโยกหลังนิดหน่อยได้​ เช่น​ ปุ๋ยสัดส่วน​ 3-1-4​ ตัวอย่าง​สูตรปุ๋ย​ คือ​ 15-5-20​

    พอพืชตั้งตัวได้​ หรือในไม้ผลที่ทำชุดใบ​ ก็จะเป็นเป็นปุ๋ยสัดส่วน N-P-K โยกท้าย​ เช่น สัดส่วน 3-1-4, 3-1-5​ ตัวอย่างสูตรปุ๋ย​ คือ​​ 15-5-20​ และ​ 15-5-25​

    ส่วนการใส่ปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของพืช​ จะ​พิจารณา​จากปริมาณ​ปุ๋ยที่พบในเนื้อเยื่อพืช​ หรือปุ๋ยที่พบในพืช​ โดยจะมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์​หรือความเข้มข้นต่อเนื้อเยื่อพืช​ 1 กก.​ เช่น​ เราพบว่าในกลุ่มไม้ผล​ ไม้ยืนต้น​ พืชผักให้ผล​ จะมีปริมาณ​ปุ๋ยคราว ๆ​ ในพืชคล้าย ๆ​ กัน​ แต่เมื่อคำนวณออกมาเป็นสัดส่วน​ N-P​-K​ (ไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสต่อโพแทสเซียม)​ จะเหมือนกัน​ แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยในบางพืชและบางระยะการเจริญเติบโต​ ดังนี้

    ระยะเจริญ​เติบโตทั่วไป​ มักพบปุ๋ย​ N, P และ K โดยประมาณ​ คือ

      N = 1.8-2%

      P​ = 0.25-0.45%

      K​ = 1.6-2.2%

    เมื่อนำตัวเลขมาเทียบเป็นสัดส่วน​ จะได้​ประมาณ​ 20-1-18 ถึง​ 20-1-22​

    แต่ในความเป็นจริงจะหาสูตรปุ๋ยที่มี​ P​ ต่ำระดับนี้ยาก​ ดังนั้น​ ถ้าเป็นปุ๋ยระบบน้ำ​ที่ใช้แม่ปุ๋ยมาผสมเองจะทำได้​ แต่ถ้าเป็นปุ๋ยแบบหว่านทั่วไป​ ก็จะไปตรงกับปุ๋ย​สัดส่วน​ 3-1-4, 3-1-5, 3-1-3, 4-1-3 และเมื่อดูสูตรปุ๋ยก็จะได้สูตร​ 15-5-20, 15-5-25, 20-8-20, 21-7-18 ประมาณนี้

    ทีนี้​ การเจริญของพืชก็จะสัมพันธ์​กับสัดส่วนปุ๋ยที่พบในพืช​ หมายความ​ว่า​ต่อให้เราพบว่าบางช่วงมี​ฟอสฟอรัส​ (P)​ ในพืชสูงมากกว่า​ 0.25-0.45% แต่ไนโตรเจน​ (N)​ และ​โพแทสเซียม​ (K)​ ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย​ ดังนั้น​ จึงเป็นที่มาว่า​ เมื่อพืชต้นเล็ก ๆ​ หรือมีทรงพุ่มใบเล็ก ๆ​ ก็ใส่ปุ๋ยตามสัดส่วนที่พบในพืชในอัตราที่น้อยหน่อย​ เมื่อโตขึ้นก็ใช้ตามสัดส่วนในปริมาณ​ที่เพิ่มขึ้น​ หรือเมื่อมีดอกมีผล​ ก็เพิ่มปริมาณ​ปุ๋ยขึ้นไป​ แต่ยังคงสัดส่วนของปุ๋ยตามเดิม

ถาม​ : ช่วงที่กำลังออกดอก หรือออกผล สัดส่วนยังเป็นเท่านี้ไหมครับ.?

ตอบ​ : แบบนี้เลย​ สัดส่วนไม่เปลี่ยนแปลง​ ยกเว้นช่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สูตรปุ๋ยหรือสัดส่วนแบบนี้​ ก็จะมีลักษณะ​ของเนื้อดินและฝนให้พิจารณา​ประกอบ

ถาม​ : บอกให้ทำแบบพิศดารนี่ขัดใจคนอีกแระ แต่น่าสนนะ.. เราแทบไม่ต้องเปลี่ยนปุ๋ยเลย​ เปลี่ยนแค่ทางใบ.? 

ตอบ​ : ถูกต้องนะคร้าบบบบบ

    แต่พอไปดูปุ๋ยระบบน้ำ​ จะมี​ 2 สูตร​ คือ​ ปุ๋ยสูตรโยกหน้า​ กับปุ๋ยสูตรโยกหลัง​ แค่เพิ่มปริมาณ​ปุ๋ยตามการเจริญเติบโต​และการให้ผลผลิตของพืช​ เช่น​ ที่ประเทศอิสราเอล

    ส่วนตัวตอนไปทำงานที่อิสราเอล​ ยังไม่เคยเห็นคำแนะนำใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูง​ หรือตอนนักวิชาการของอิสราเอลมาสอนผม​ ​สมัยผมดูแลและปลูกพืชในโรงเรือน ก็ไม่เคยสอนผมเรื่องก่อนพืชมีดอกต้องใส่ฟอสฟอรัส (P)​ สูง ๆ​ นะ

    คือ ตอนนี้คอนเทนต์​ ปุ๋ยสูตร​ 8-24-24​ หรือสูตรใกล้เคียงกันแบบนี้​ ลามปาม​ไปถึงพืชล้มลุก​ อย่างมะเขือ​เทศ​ พริก​ มะเขือ​ พืชตระกูล​แตง​ มะละกอ​ แล้วนะ..

    *คำว่าปุ๋ยสูตรโยกหน้า​ หรือปุ๋ยโยกท้าย​ หมายถึง​ สูตรปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส​ต่ำ​ แต่มีไนโตรเจน​และโพแทสเซียม​สูง

ถาม​ : แบบนี้ได้ไหมครับ ถ้า สมมติเราจะใส่ 15-5-25 นี่.. เราแบ่งใส่ 3 ช่วง ช่วงที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตรหน้าสูง ช่วงที่ 2 ใส่ปุ๋ยครบสูตร​ ช่วงที่ 3 ใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูง แต่ทั้ง​ 3 ช่วง​ รวมกันจะได้ปุ๋ยสูตร 15-5-25 แบบนี้ได้ไหมครับ.?

ตอบ​ : ไม่ได้ดิ.! สมมุติ​เอาแบบช่วงระยะใกล้ ๆ​ กันของไม้ผลเลย​ เช่น

    ระยะแตกใบอ่อน​ จนถึง​ ใบเพสลาด​ ถ้าในสภาพปกติ​ แดดดี ความชื้นเหมาะสม​ อายุพัฒนาใบ​จะราวๆ​ 45​ วัน

    ในระยะ​ 45​ วัน​ ถ้าตอนแตกใบอ่อน​ สาดปุ๋ยสูตร​ 46-0-0​ พอใบคลี่กาง​ สาดปุ๋ยสูตร 15-15-15 พอใบเข้าใบเพสลาด​ สาดปุ๋ยสูตร​ 0-0-60​ หรือ​ 14-7-35​

    คำถาม.? ​ ตอนใบเริ่มคลี่​ หรือก่อนใบคลี่​ พืชก็จะใช้ปุ๋ยสัดส่วน​ 3-1-4 แต่.!! จะได้แค่ปุ๋ย​ตัวหน้า​ (ปุ๋ย​ 46-0-0)​

    ซึ่งการใส่แบบนี้​ เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า​ ใบจะบาง​ ใบยาว​ และไม่แข็งแรง​ เพราะทุกระยะที่พัฒนาในทุก ๆ​ วัน​ พืชต้องการสัดส่วน​ N-P-K​ และธาตุตัวอื่น ๆ​ ในสัดส่วนเดิม

    ถ้าเป็นลูกค้าผมปัจจุบัน​ รู้จักปุ๋ยอยู่​ 3 สูตร

    1. ปุ๋ยสูตร 15-5-20

    2. ปุ๋ยสูตร 15-5-25

    3. ปุ๋ยสูตร​ 14-7-35

    โดย​ 2 สูตรแรก​ ใช้เป็นประจำตั้งแต่ฟื้นต้นยันพัฒนาผล

    สูตร​ที่​ 3 ใช้แทน​ 8-24-24 และใช้ช่วงผลใกล้เก็บเกี่ยว​ หรือช่วงขยายขนาดผลแต่ฝนตกชุก

    แต่ระยะฟื้นต้น​ อาจมีพลิกแพลง​บ้างเล็กน้อย​ เช่น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี​ สำหรับคนที่ไม่อยากนำปุ๋ยเคมีมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์​เอง​ หรือหว่านปุ๋ยเคมีพร้อมปุ๋ยอินทรีย์

    ดังนั้น​ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร​ 9-3-5, 10-3-10 เป็นต้น แต่ถ้าใครสะดวกซื้อแยกแล้วหว่านพร้อมกัน​ (ต้นทุนถูกกว่า)​ ก็จะใช้​ 20-8-20, 21-7-18, 22-3-22 กับปุ๋ยอินทรีย์

ถาม​ : อ่อครับผม.. โอเคร เข้าใจแล้วครับ

ตอบ​ : ปริมาณ​การใส่ปุ๋ย​ ถ้าเป็นไม้ผลก็ดูตามขนาดทรงพุ่ม

    ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง​ทรง​พุ่ม​ 1 เมตร​ ใส่ปุ๋ยเคมี​ 1 ขีด​ต่อต้น​ต่อเดือน​ สำหรับปุ๋ยเคมี​ที่มีเนื้อปุ๋ยรวมกันตั้งแต่​ 35% ขึ้นไป​ เช่น​ ปุ๋ยเคมีสูตร​ 15-5-20​ มีเนื้อปุ๋ยรวมกันเท่ากับ​ 40% หรือปุ๋ยเคมีสูตร​ 20-8-20 มีเนื้อปุ๋ย​รวมกันเท่ากับ​ 48%

    ถ้าเป็นปุ๋ยที่มีเนื้อปุ๋ยรวมกันน้อยกว่า​ 25-30% ลงมา​ ก็ต้องเพิ่มปริมาณ​ปุ๋ย​ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร​ 10-3-10 มีเนื้อปุ๋ยรวมกัน​ เท่ากับ​ 23​% ก็ต้องเพิ่มปริมาณ​ปุ๋ยที่ใส่ขึ้น​เป็น​ 2 ขีดต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง​ทรง​พุ่ม​ 1 เมตร​ หรือ​ปุ๋ย​อินทรีย์เคมี​สูตร​ 9-3-5​ มีเนื้อปุ๋ยรวมกัน​ 17% ก็ต้องเพิ่มปริมาณ​การใส่ปุ๋ยเช่นกัน

    สำหรับช่วงติดดอกและผล​ ก็เพิ่มปริมาณ​ปุ๋ยขึ้น​ ทีละ​ 10-25% ตามการเจริญเติบโต​ของดอกและผล ถ้าจะให้ดี​ ควรแบ่งใส่ปุ๋ย​ 2-4 ครั้งต่อเดือน​ จากปริมาณ​ปุ๋ยที่ต้องใส่ต่อเดือน​ ตัวอย่างเช่น​ ต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง​ทรงพุ่ม​ เท่ากับ​ 8​ เมตร​ จะต้องใส่ปุ๋ยราว ๆ​ 8​ ขีดต่อต้นต่อเดือน​ แบ่งใส่​ 2 ครั้ง​ แต่ละครั้งใส่ปุ๋ยราว​ 4 ขีด

ถาม​ : ทุกช่วงอายุ ทุกช่วงการพัฒนา ใช่ไหมครับ.? 

ตอบ​ : Yes.. แต่อย่าลืมธาตุอื่น ๆ​ นอกเหนือจาก​ N, P และ​ K เช่น​ ธาตุ​แคลเซียม​และจุลธาตุ

ถาม​ : ครับผม, อ้อ.. จุลธาตุสังกะสี ถ้าเจอขาดทุกรอบใบ ควรเพิ่มทางดินไหมครับ.? 

ตอบ​ : แหล่งธาตุรอง​ ก็​ โดโลไมท์ ยิปซั่ม, จุลธาตุก็อินทรีย์วัตถุ​ หรือแร่จากเหมืองภูเขาไฟ​ ในปุ๋ยปรับสภาพบางยี่ห้อ​ เช่น​กรีนลีฟMIC​ มีทั้งโดโลไมท์และแร่ภูเขาไฟ​

    จุลธาตุ​ ควรพ่นเสริมทางใบจะดีมาก ๆ​ ปกติผมให้ลูกค้าพ่นทุกรอบ​ ถ้าช่วงแรก ๆ​ ที่ดินยังขาดอินทรีย์​วัตถุและใช้ปุ๋ยสูตร​ P​ สูงมาตลอด​ เช่น​ 15-15-15, 16-16-16, ​ 13-13-21, 12-12-17, 8-24-24 การพ่นจุลธาตุจะใช้อัตราสูงหน่อย​ เช่น​ พ่นธาตุรวม​ อัตรา​ 200​ กรัมต่อน้ำ​ 200​ ลิตร​ เมื่อพ่นประจำ​แล้ว​ หลัง ๆ​ จะลดอัตราธาตุรวมลง​ เหลือ​ 100 กรัมต่อน้ำ​ 200​ ลิตร​ ร่วมกับลดการใช้ปุ๋ยสูตร​ P​ สูง

    เหตุที่ยังต้องพ่นจุลธาตุทางใบเสริม​ เพราะถึงในดินจะมีจุลธาตุแล้ว​ แต่การเคลื่อนย้ายในต้นยังถูกจำกัด​ ถ้ามองว่าจะทำคุณภาพหรือเพิ่มผลผลิต​ ก็ต้องเสริม​ด้วยการพ่นทางใบ

ตอบ​ : ครบเรื่องการใช้ปุ๋ยแล้วนะเนี่ย​ อ้อ.. ​ปกติ​พวกยิปซั่ม/โดโลไมท์​ อัตราและวิธีการ​ใส่​ ผมใช้ตามปุ๋ยเคมี​ และสาดดดดดดด​พร้อมกัน

ถาม​ : ไหนแอด.. บอกไม่ให้ผสมกัน แต่ทำไมสาดพร้อมกัน.. คือ​ ยังงัย.? 

ตอบ​ : เคยบอกด้วยเหรอว่าห้ามผสมกัน.!! 

ถาม​ : แล้วผมไปฟังมาจากใหนอะ.? 

ตอบ​ : ไปดูเฟสบุ๊ค​อื่นมาเปล่า อยู่​หลายกลุ่ม​ ตามหลายเฟส งงละสิ… จำไม่ได้ว่าใครบอกห้ามผสมกันหรือหว่านพร้อมกัน

ถาม​ : รู้ทันน 55++

ถาม​ : มันก็ย้อนแย้งนะแอด.. ฟิลเลอร์ในปุ๋ย ก็เป็นโดโลไมด์ เป็นยิปซั่มทั้งนั้น..? 

ตอบ​ : คือ​ ตราบใดที่ไม่ใส่แบบกองไว้ตรงจุดใดจุดหนึ่งไม่มีปัญหาหรอก.. มันไม่เข้มข้น​

    เหมือนปุ๋ยน้ำไฮโดรโพนิกส์​ มีครบทุกธาตุอยู่รวมกัน​ แต่อยู่ในลักษณะ​เจือจาง และก่อนจะผสมใช้​ปุ๋ยน้ำไฮโดรฯ จะแยกเป็นปุ๋ย​ A​ และ​ B​ เพราะเข้มข้น

    อีกอย่าง​ ยังไง ๆ​ พวกยิปซั่มหรือโดโลไมท์​ ก็ละลายแตกตัวได้ธาตุช้ากว่าปุ๋ยเคมีอยู่แล้ว.. ใส่ก่อน-ใส่หลัง​ ยังไงก็ต้องเจอกันอยู่ดี อย่างที่คำโบราณท่านว่า​“เนื้อคู่กันแล้ว​ คงไม่แคล้วกัน”

    อย่างมากตอนจับใบแดง​และเข้ากรมกอง​ เมียก็ได้ผัวใหม่ หรือไม่​ ตอนออกจากกรม​ ก็เจอเมียท้องสัก​ 7-8​ เดือน​..

ตอบ : อู้ยย แอดก็นะ

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: