Logo

เทคนิค: ลดการแตกกิ่งย่อยหลังตัดยอดทุเรียน

Thirasak Chuchoet • September 7, 2024
เทคนิค: ลดการแตกกิ่งแขนงหลังตัดยอดกิ่งกระโดงเพื่อทอนความสูงในไม้ผล

    หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต​นอกจากการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว​ บางสวนจะมีการตัดยอดกิ่งกระโดงออก​เพื่อลดทอนความสูงของต้นลง​ แต่ปัญหาที่มักตามมาคือ​ บริเวณยอดตอที่ตัดจะมีการแตกกิ่งน้ำค้าง​ (ยอดกระโดงใหม่)​ ขึ้นมาทดแทน​ และมักแตกกิ่งออกมามากกว่า​ 4-5​ กิ่ง

    ยอดกิ่งน้ำ​ค้างเหล่านี้จะพัฒนาทดแทนยอดกิ่งกระโดงเก่าที่ตัดออก และยังเป็นยอดที่แก่งแย่ง​สารอาหารได้ดี​ จนเหมือนการตัดยอดออกไม่ได้ช่วยอะไร แทนที่จะลดทอนความสูงของต้น​กับได้ยอดใหม่มาเพียบ

    จากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์​ เรื่อง  ฮอร์โมนออกซินของพืช​ เราทราบว่า​  “ส่วนยอดและปลายกิ่ง​ เป็นส่วนที่มีการสร้างออกซิน​ของพืช​ และออกซินจะเคลื่อนย้ายจากปลายยอดสู่ส่วนล่าง และเกิดปรากฏการณ์​ยับยั้งการเกิดตาข้างที่ต่อไปจะเจริญเป็นกิ่ง​น้ำค้าง​ กิ่งแขนง​ ใบ​ และแก่งแย่งสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต” เนื่องจากยอดใหม่จะกลายเป็นแหล่งผลิตออกซิน​และมีส่วนสำคัญในการดึงสารอาหารเพื่อพัฒนายอดต่อไป​

    การยับยั้งการเกิดตาข้างของออกซินที่เกิดขึ้น เป็นปรากฏการณ์​ที่เรียกว่า​  “การข่มของส่วนยอด​ (Apical dominance)”

    การตัดยอดกิ่งกระโดง​จึงทำให้เกิดการแตกตาข้างทดแทนยอดเก่า​ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถ​ทำได้โดยนำองค์ความรู้เรื่อง​การข่มของส่วนยอด​มาใช้
    โดยเมื่อตัดยอดกิ่งกระโดงแล้ว​ ให้ทำการแต่งรอยตัดให้เรียบแล้วทาหรือฉีด​พ่นด้วยออกซิน​ ที่ระดับความเข้มข้น​ 45,000-60,000 ppm. (มก./กก.) ซึ่งความเข้มข้นระดับนี้จะเท่ากับ
การใช้สาร​ NAA​ 4.5% โดยไม่ต้องผสมน้ำ​และทาบริเวณรอยแผลที่ตัด​ใหม่​ (รอยตัดใหม่เท่านั้น​ หากตัดไปแล้วและทิ้งไว้​ ควรตัดตอเก่าและแต่งรอยแผลให้เรียบก่อนทา NAA)​ การทาด้วยสาร NAA จะยับยั้งการเกิดตาข้างหรือกิ่งแขนง-กิ่งน้ำค้าง ได้ราว 5-6 เดือน

    บางครั้งการปีนขึ้นไปตัดยอดกิ่งกระโดงสูงๆ​ ทำให้การทาด้วยแปรงทาสีอาจเกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน​ ดังนั้น​  การใช้​ NAA​ 4.5% (ไม่ต้องผสมน้ำ)​ เทใส่ในกระบอกฉีดรีดผ้าขนาดเล็กๆ​ (กระบองขนาด​ 200-300 ซีซี.) พกติดเอวก็จะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น​ การฉีดพ่นควรฉีดให้โดนเฉพาะส่วนของรอยแผลเท่านั้น​ หากฉีดฟุ้งกระจาย​ไปโดนใบ​ จะทำให้ใบเหลืองและหลุดร่วง​ เนื่องจากออกซินความเข้มข้นสูงนี้​ จะกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเอทีลีน​ หรือที่รู้จักในชื่อสารที่ใช้บ่มผลไม้​ คือ​ อีทีฟอน​ 
    เอทีลีน​ มีบทบาทในการทำให้เกิดการแก่​ การสุกแก่และการหลุดร่วง

    นอกจากนี้​ เราสามารถนำองค์ความรู้เรื่องปลายยอดเป็นแหล่งผลิตออกซินและการข่มของส่วนยอด​ ไปใช้ในการตัดแต่งกิ่งแขนง​ คือ​ ตัดแต่งกิ่งแขนงให้ชิดโคน​ หากเหลือตอจะทำให้เกิดตาข้างเจริญเป็นกิ่งแขนงหรือกิ่งน้ำค้างได้ง่ายและเร็ว​ เนื่องจากไม่มีออกซินจากส่วนยอดและตอที่เหลือไว้เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญ​พัฒนาสร้างตาข้างใหม่ได้ง่าย

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: