โรคใบไหม้ (Late blight) เป็นหนึ่งในโรคที่สร้างความเสียหายให้กับมะเขือเทศมากที่สุดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า อินเฟสเทนส์ (Phytophthora infestans) ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิเย็นอย่างในช่วงปลายฤดูฝนต่อเข้าฤดูหนาว โรคใบไหม้ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อใบของมะเขือเทศ แต่ยังสามารถลุกลามไปยังผล ลำต้นและกิ่ง ผลที่ติดเชื้อจะไม่สามารถจำหน่ายหรือบริโภคได้ การป้องกันกำจัดไม่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก
เชื้อราไฟท็อปธอร่า ยังก่อโรคใบไหม้ที่สำคัญในพืชอีกหลายชนิด อาทิ โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง โรคใบจุดตาเสือในเผือก หรือโรคใบไหม้สีดำในทุเรียน
โรคใบไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของต้นมะเขือเทศ ไม่ว่าจะเป็นใบ ลำต้น หรือผล อาการที่พบบ่อย ได้แก่
1. ใบ:บนใบจะปรากฏอาการแผลช้ำน้ำคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แผลเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอมสีเทา ต่อมาแผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำและทำให้ใบไหม้แห้ง
2. กิ่งและลำต้น: บนกิ่งและลำต้นจะเกิดรอยแผลสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีลักษณะช้ำน้ำคล้ายที่ใบ ซึ่งแผลเหล่านี้หากเกิดขึ้นบริเวณโคนกิ่งจะทำให้ยอดเหี่ยวและแห้งตายได้ แผลที่ลำต้นหากอาการรุนแรงสามารถทำให้ลำต้นหักพับและต้นหยุดการเจริญเติบโต
3. ผล: ผลที่ติดเชื้อจะมีรอยแผลสีน้ำตาลหรือดำที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง บางครั้งผลอาจเน่าเสียหรือแข็งตัวเมื่อเชื้อราลุกลาม ผลที่ติดเชื้อจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือบริโภคได้ เนื่องจากเนื้อภายในเสียหาย
โรคใบไหม้จะระบาดหนักในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ (18-22 องศาเซลเซียส) เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อมีน้ำค้างหรือฝนตกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเนื่องจากเชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับฝนและน้ำได้ดี นอกจากนี้ การปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดีจะเพิ่มโอกาสให้เกิดการระบาดของโรคได้มากขึ้น
เชื้อราไฟท็อปธอร่า อินเฟสเทนส์ (P. infestans) สามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางลม น้ำ และดินที่มีเชื้อเจือปน สปอร์ของเชื้อราสามารถลอยไปในอากาศและตกลงบนต้นมะเขือเทศ หรือสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรง เช่น การรดน้ำ หรือการใช้เครื่องมือทางการเกษตรที่ปนเปื้อน เชื้อรานี้ยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางเมล็ดหรือผลที่ติดเชื้อ นอกจากนี้เชื้อราไฟท็อปธอร่า อินเฟสเทนส์ (P. infestans) ยังสะสมในดินอยู่ได้นานหลายปี
1. การใช้พันธุ์ที่ทนทานต่อโรค: ปัจจุบันมีพันธุ์มะเขือเทศที่ถูกพัฒนาให้มีความต้านทานต่อโรคใบไหม้ การเลือกใช้พันธุ์เหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการระบาด
2. การปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม: หลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขัง การปลูกในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดีจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือการเพาะปลูกไม่แน่นทึบเกินไปจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้
3. การใช้สารป้องกันกำจัดโรค: การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคก่อนการเกิดโรคจะสามารถช่วยป้องกันและลดการระบาดของโรคใบไหม้ได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือกรมวิชาการเกษตร สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่แนะนำ เช่น ทวินโป (สาร:ไดฟิโนโคนาโซล + อะซ็อกซี่สโตรบิน 12.5%+20% SC) อัตรา 10-15 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรผสมร่วมกับพีโคล70 (สาร:โพรพิเนบ 70% WP) อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพีเทน80 (สาร:แมนโคเซบ 80% WP) อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง แล้วสลับสารด้วย ดีโฟร่า (สาร:ไซมอกซานิล+แมนโคเซบ 8%+64% WP) อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
หากพบอาการระบาดของโรค พ่นด้วย ทวินโป อัตรา 20 ซี.ซี. ร่วมกับ ดีโฟร่า อัตรา 30-50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 5-7 วัน
นอกจากนี้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดอื่นๆ ที่ใช้พ่นสลับเพื่อป้องกันการเกิดโรค อาทิเช่น พีท็อป 35 (เมทาแลกซิล 35% DS) อัตรา 40-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร,พีมูเร่ (ไดฟีโนโคนาโซล + โพรพิโคนาโซล 15%+15% EC ;ควรพ่นเมื่อมะเขือเทศมีอายุมากกว่า 50-55 วันขึ้นไป) อัตรา 8-15 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร,แพ็คทวิน (ไดเมโทมอร์ฟ + ไพราโคลสโตรบิน 12%+6.7% WG) อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร,แพ็คสโตรบิน (ไพราโคลสโตรบิน 25% EC) อัตรา 10-15 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโพรพาโมคาร์บ + เมทาแลกซิล (โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์ + เมทาแลกซิล 10%+15% WP) อัตรา 40-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น
4. การกำจัดเศษซากพืชที่ติดเชื้อ: การเผาทำลายใบหรือลำต้นที่ติดเชื้อเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดแหล่งสะสมของเชื้อรา หรือนำไปฝังกลบลึก 1.5-2 เมตร
โรคใบไหม้เป็นโรคที่สำคัญสำหรับการปลูกมะเขือเทศ เนื่องจากสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งในด้านผลผลิตและคุณภาพของผล การจัดการโรคนี้ต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมเชื้อราผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรมที่เหมาะสม ชาวสวนควรตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากโรค
แหล่งสืบค้น :
อรพรรณ วิเศษสังข์ และจุมพล สาระนาค.2558.โรคพืชผักและการป้องกันกำจัด.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : บริษัทสยามคัลเลอร์พริน จำกัด.164 หน้า.
Mardubai by James Thirasak
มือถือ. 082-353-5156
อีเมล. thirasak.chuchoet@gmail.com
ร้านหัวถนนการเกษตร-289
เลขที่ 52/4 ถ.นครศรีฯ-ปากพนัง ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
80000