Logo

โรคแอนแทรคโนสในมะละกอ: ปัญหาและการป้องกัน

Thirasak Chuchoet • September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในมะละกอ: ปัญหาและการป้องกัน
โรคแอนแทรคโนสในมะละกอ: ปัญหาและการป้องกัน

    โรคแอนแทรคโนสในมะละกอ เป็นหนึ่งในโรคที่ทำให้ผลผลิตเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือมีฝนตกบ่อย (พื้นที่อื่นก็เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน)​ โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า ​คอลเล็ตโตทริคั่ม​ (Colletotrichum gloeosporioides)​ ซึ่งสามารถทำลายผลมะละกอทั้งในช่วงที่ยังอยู่บนต้นและหลังการเก็บเกี่ยวได้ ในแปลงมะละกอที่พบการระบาดของโรคแอนแทรคโนสรุนแรงหรือบ่อยครั้งอาจเกิดจากแปลงปลูกสะสมโรคและ/หรือเชื้อราพัฒนาเข้าสู่ระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ระยะเทเลโอมอฟ; teleomorph) เรียกง่าย ๆ คือร่างที่สองของเชื้อโรค ในระยะนี้เชื้อราจะมีชื่อเรียกว่ากลอเมอเรลล่า (Glomerella cingulata) คล้ายเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) ในระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเรียกว่าเนคเทรีย (Nectria; ร่างสอง)

อาการของโรคแอนแทรคโนสในมะละกอ

    อาการของโรคแอนแทรคโนสในมะละกอ เริ่มแรกมักปรากฏเป็นจุดสีน้ำตาลดำเล็ก ๆ บนผิวของผลมะละกอ หากปล่อยทิ้งไว้ จุดดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นและลึกลงในเนื้อผล ทำให้ผลเน่าเสีย บ่อยครั้งจะพบว่ารอบขอบเน่าจะเป็นวงเรียงซ้อนกัน มีจุดเม็ดสีดำเล็ก ๆ เรียงซ้อนตามวงนั้น และนอกจากนี้ยังอาจพบคราบสีชมพูหรือสีขาวบนแผลเน่านั้นด้วย

    เมื่อเชื้อแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสภาวะที่มีความชื้น จุดที่เกิดจะรวมตัวกันเป็นแผลใหญ่ ส่งผลให้ผลมะละกอเสียหายอย่างรุนแรงและไม่สามารถจำหน่ายได้

การเข้าทำลายของเชื้อแอนแทรคโนสในรูปแบบ เชื้อแฝง ในมะละกอและพืชอื่น ๆ

    หนึ่งในลักษณะสำคัญของ เชื้อโรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum gloeosporioides) คือการเข้าสู่ผลมะละกอในรูปแบบของ เชื้อแฝง ซึ่งหมายถึงการที่เชื้อราสามารถเข้าทำลายพืชโดยที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ บนผลมะละกอในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วงเวลานี้เชื้อจะหยุดการเจริญเติบโตและรอจนกว่าสภาวะแวดล้อมจะเหมาะสมก่อนที่จะเริ่มทำลายผลมะละกออย่างเต็มที่ โดยผลมะละกออาจติดเชื้อตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนถึงระยะเก็บเกี่ยว (ก่อนผลสุกแก่) ต่อเมื่อผลสุกแก่หรือเกิดกระทบกระเทือนจนผลช้ำหรือเกิดแผล เชื้อโรคแอนแทรคโนสจึงเข้าทำลายผลและเกิดแผลเน่า

    การทำลายของเชื้อในลักษณะนี้จะเป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมโรค เนื่องจากผลมะละกออาจดูเหมือนปกติดีในช่วงที่เก็บเกี่ยว แต่เมื่อเวลาผ่านไปหรือเมื่อผลมะละกอเข้าสู่ช่วงการขนส่งหรือการเก็บรักษา เชื้อราจะเริ่มทำลายและทำให้เกิดแผลเน่าได้ในระยะเวลาอันสั้น

สาเหตุและการแพร่กระจายของเชื้อแฝง

   การเจริญแบบแฝงตัว: เชื้อโรคแอนแทรคโนสสามารถเจริญเติบโตภายในผลมะละกอโดยไม่แสดงอาการเมื่อสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น ในช่วงอุณหภูมิและความชื้นต่ำ เมื่อผลมะละกอสุกและเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น การสะสมของน้ำตาลหรือการเปลี่ยนแปลงของผิวผล เชื้อโรคจึงจะเริ่มทำลายผลและเกิดแผลเน่า

ปัจจัยที่กระตุ้นการระบาดของโรคแอนแทรคโนส

   ความชื้นสูง: เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

   ฝนตกต่อเนื่อง: การที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ง่าย และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายตัวของเชื้อ

   ความสมบูรณ์ของต้นและผล: สำหรับมะละกอที่มีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากกว่าปุ๋ยโพแทสเซียมมาก ๆ จะทำให้ต้นและผลมะละกออ่อนแอ่ แม้จะแลดูต้นเติบโตดี ใบมาก ดอกดก แต่นั้นคืออาการโรคอ้วนของมะละกอ หรือในพืชเรียกว่าอาการบ้าใบ

   มีแผลที่ผล: ผลที่ถูกแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย ทั้งจากเพลี้ยไฟและไรแมงมุมเทียม จะเป็นตัวเร่งการเกิดโรคแอนแทรคโนสที่ผลมะละกอ

   การเก็บเกี่ยวและการขนส่งที่ไม่ระมัดระวัง: การขนส่งที่ไม่ระมัดระวังหรือการเก็บเกี่ยวผลมะละกอที่มีแผลสามารถนำไปสู่การติดเชื้อเพิ่มเติมได้ และที่สำคัญผลมะละกอที่ยังไม่แสดงอาการผลเน่าจากโรคแอนแทรคโนสจะปะทุอาการได้ง่าย เพราะผลติดเชื้อโรคในลักษณะเชื้อแฝง

การป้องกันและการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในมะละกอ

    1. การคัดเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค: การใช้พันธุ์มะละกอที่มีความต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคได้ (ส่วนตัวไม่มีความรู้เรื่องสายพันธุ์)

    2. การจัดการพื้นที่ปลูก: ลดความชื้นในพื้นที่ปลูกโดยการปรับพื้นที่ให้มีการระบายอากาศที่ดี

    3. การใช้สารป้องกันและกำจัดโรคพืช: ใช้สารป้องกันเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค เช่น สารกลุ่ม 11 และกลุ่ม 3 ซึ่งโดยทั่วไปจะเน้นไปที่การใช้สาร อะซอกซี่สโตรบิน+ไดฟิโนโคนาโซล 20%+12.5% (เนื้อครีม) ผสมร่วมกับสารกลุ่ม M3 เช่น แมนโคเซบ 80% (ผง) หรือโพรพิเนบ 70% (ส่วนตัวแนะนำโพรพิเนบ เพราะจะได้ธาตุสังกะสีสูงกว่าแมนโคเซบ) พ่นในอัตรา 15 ซี.ซี. และ 50-60 กรัม (ตามลำดับ) ต่อน้ำ 20 ลิตร เนื่องจากนี้สารป้องกันที่อยากแนะนำ แต่ควรทดลองพ่นดอก ผลอ่อน และใบก่อนใช้ คือ โพรคลอราซ 45% (สารกลุ่ม 3) แต่.!! ย้ำว่าควรทดสอบก่อนใช้งานจริง เนื่องจากโพรคลอราซ 45% หรือ 43% จะอยู่ในรูปยาน้ำมันทั้ง EC และ EW โดยอัตราใช้ที่แนะนำคือ 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร

        หรือจะใช้ โพรคลอราซ+คาร์เบนดาซิม 25%+25% (ชื่อการค้าคลอราส์ สารกลุ่ม 3+1) ซึ่งเป็นยาผง โดยพ่นโพรคลอราซ ร่วมกับโพรพิเนบ ในอัตรา 20 ซี.ซี. และ 50-60 กรัม (ตามลำดับ) ต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าใช้โพรคลอราซผง พ่นในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งอาจพ่นสลับยาดังนี้ โพรคลอราซ ผสมร่วมกับ โพรพิเนบ สลับ อะซอกซี่สโตรบิน+ไดฟิโนโคนาโซล ผสมร่วมกับ โพรพิเนบ

        โดยพ่นระยะก่อนดอกบาน ระยะผลอ่อนจนถึงระยะเก็บเกี่ยว พ่นต่อสลับสารต่อเนื่อง พ่นทุก ๆ 10-14 วัน

    4. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว: ควรระวังในการขนส่งและเก็บเกี่ยวผลมะละกอไม่ให้เกิดบาดแผล และเก็บผลมะละกอในสภาพที่แห้งสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

       ความชื้นและอุณหภูมิ: เมื่อผลมะละกออยู่ในสภาพที่มีความชื้นสูงหรืออุณหภูมิที่เหมาะสม หรือเก็บผลไว้ในที่อุณหภูมิสูง เชื้อราจะเร่งการเติบโตและทำลายผลได้รวดเร็ว
       
การเก็บเกี่ยวผลที่ยังไม่สุกเต็มที่: ผลมะละกอที่เก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังไม่สุกเต็มที่อาจไม่แสดงอาการของโรค แต่เมื่อเริ่มสุก เชื้อแฝงก็จะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลมะละกอเน่าหลังการเก็บเกี่ยวและในระหว่างการขนส่ง

*ข้อควรระวังในการใช้สารโพรคลอราซสูตรน้ำมัน

  1. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตเกี่ยวกับอัตราการใช้และระยะเวลาการฉีดพ่นอย่างเคร่งครัด
  2. หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นในช่วงที่มีลมแรงหรืออากาศร้อนจัด
  3. ไม่ควรผมยาน้ำมันชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติมเมื่อพ่นโพรคลอราซสูตรน้ำมัน

    สรุป

    สารโพรคลอราซ สูตรยาน้ำมัน เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส สูตรยาน้ำมันช่วยเพิ่มความสามารถในการป้องกันและรักษาโรคได้ดี แม้ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง อย่างไรก็ตาม การใช้สารโพรคลอราซควรทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด และทดสอบพ่นก่อนใช้งานจริง เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการควบคุมโรคและลดผลกระทบต่อผิวมะละกอ

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละระยะจะใช้ปุ๋ย N-P-K ในสัดส่วนใกล้เคียงกันเสมอในการเจริญพัฒนา ไม่ใช่ว่าระยะใบอ่อนต้องการไนโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่ำ..
More Posts
Share by: