Logo

กำจัดเพลี้ยไฟอย่างไร.. เมื่อเพลี้ยดื้อยา.!!

Thirasak Chuchoet • June 26, 2024
กำจัดเพลี้ยไฟอย่างไร.. เมื่อเพลี้ยดื้อยา.!!

   การแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟเกิดขึ้นได้เกือบตลอดปี แม้ในอดีตมักพบการระบาดในฤดูแล้ง ฝนทิ้งช่วงหรือในช่วงขาดฝนเป็นเวลานาน แต่ในภาวะสภาพอากาศโลกเดือด (global boiling) ส่งผลให้แมลงหลายชนิดมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงชีววิทยาเพื่อการดำรงอยู่สืบเผ่าพันธุ์ โดยจะเห็นได้จากข่าวสารสถานการณ์แพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิดที่รุนแรงในบางพืชที่ไม่เคยประสบปัญหาแมลงนั้นๆ มาก่อน หรือพบจำนวนประชากรแมลงมากผิดปกติในการระบาดแต่ละครั้ง 

    จากประสบการณ์ (ผู้เขียน) เริ่มพบเห็นแมลงศัตรูพืชบางชนิดปรับพฤติกรรมหลายด้าน อาทิเช่น ไรแดง และเพลี้ยไฟระบาดในขณะมีฝนพล่ำ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ควรให้ความใส่ใจ หรือปกติหนอนกระทู้หอมไม่บ่อยที่จะพบเข้าทำลายในลักษณะเป็นฝูงใหญ่คล้ายกองทัพในมันสำปะหลัง การระบาดของด้วงงวงพลาตี้ทราเชลัส (Platytrachelus sp.) ซึ่งเป็นแมลงในวงศ์ด้วงงวง (Family: Curculionidae) เช่นเดียวกับแมลงค่อมทอง ที่ระบาดเป็นฝูงใหญ่ในมันสำปะหลัง หรือการระบาดของแมลงหวี่ขาวต่อเนื่องตลอดฤดูกาลเพาะปลูกมะเขือเทศช่วงปลายปี 2566 ต่อต้นปี 2567 ในเขตพื้นที่ จ.สกลนคร และใกล้เคียง

การป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ

   การป้องกันหรือกำจัดเพลี้ยไฟที่เหมาะสม ควรทราบถึงชีววิทยาของเพลี้ยไฟบางประการเสียก่อน เช่น

    1. สภาพภูมิอากาศ​ร้อนและแล้งขึ้นในทุกปี​ ก่อให้เกิดการปรับกระบวนการเจริญพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยเร็วขึ้น​ ส่งผลให้การระบาดบ่อยครั้งขึ้น​ จำนวนเพลี้ยไฟและความรุนแรงมากขึ้น

    2. อายุการพัฒนาชั่วรุ่นหนึ่งๆ สั้นลงมาก จากเดิม 19-21 วัน เหลือ 10-14 วัน (จากระยะไข่พัฒนาเป็นตัวเต็มวัย)

    3. เพลี้ยไฟบางชนิดสืบพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ และไข่ที่ไม่ได่รับการผสมพันธุ์จะพัฒนาเป็นเพศเมีย

    4. เพลี้ยไฟมีหลายชนิด แต่ละชนิดดื้อยาไม่เท่ากัน และชนิดเดียวกันแต่ต่างพื้นที่ก็ดื้อยาไม่เท่ากัน

    5. พืชอาหารรองของเพลี้ยลดลงและขาดแคลน รวมถึงวัชพืชบางชนิดที่เป็นพืชอาศัยหายไป

    6. ไม่ควรพ่นสารกำจัดแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง และควรสลับกลุ่มยาให้ได้อย่างน้อย 4 กลุ่ม

สารกำจัดแมลงที่แนะนำ

   การป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟควรวางแผนการใช้ยาล่วงหน้าและพิจารณาช่วงวิกฤต[1] การเจริญเติบโตของพืชประกอบ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การพ่นยาเพื่อป้องกันในลักษณะวางโปรแกรมสารกำจัดแมลงเป็นรอบ แต่ละรอบห่างกัน 10-14 วัน โดยสลับกลุ่มยาอย่างน้อย 4 กลุ่ม และการพ่นยากำจัดเพลี้ยไฟเมื่อพบการระบาด 

    ดังนั้น จึงควรแบ่งสารกำจัดแมลงออกเป็น 2 วัตถุประสงค์ ตามการใช้งาน คือ ยาเชิงป้องกัน และยาเพื่อกำจัด[2] ดังนี้

[1] ช่วงวิกฤตในที่นี้ หมายถึง ระยะการเจริญของพืชที่ประสบปัญหาการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงแก่พืช

[2] เป็นคำแนะนำการเลือกใช้สารกำจัดเพลี้ยไฟที่ได้จากการศึกษาเอกสาร การทดสอบและประสบการณ์ของผู้เขียน

สารกำจัดแมลงที่มีแนะนำ (อัตราแนะนำต่อน้ำ 20 ลิตร) ประกอบด้วย

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 1:

    กลุ่มย่อย 1A: กลุ่มสารเคมีคาร์บาเมท ได้แก่ 

        ฟีโนบูคาร์บ (fenobucarb) 50% EC อัตรา 40-60 ซีซี.[3]

        ฟอร์มีทาเนต ไฮโดรคลอไรด์ (formetanate hydrochloride) 20% SP อัตรา 40-60 กรัม

        เมทิโอคาร์บ (methiocarb) 50% อัตรา 30-40 กรัม

        คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 50-80 กรัม

    กลุ่มย่อย 1B: กลุ่มสารเคมีออร์กาโนฟอสเฟต ได้แก่

        ไดอะซินอน (diazinon) 60% EC อัตรา 40-60 ซีซี.[3]

        ไดเมโทเอต (dimethoate) 40% EC หรือ SL อัตรา 40-60 ซีซี.[3]

        ไตรอะโซฟอส (triazophos) 40% EC อัตรา 40-60 ซีซี.[3]

        โปรฟีโนฟอส (profenofos) 50% EC อัตรา 40-60 ซีซี.[3]

        โอเมโทเอต (omethoate) 50% EC หรือ SL อัตรา 50-60 ซีซี.[3]

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 2:

    กลุ่มย่อย 2B: กลุ่มสารเคมีฟีนิลไพราโซล (ฟิโพรล์)

        ฟิโพรนิล (fipronil) 5% SC อัตรา 50-60 ซีซี.

        ฟิโพรนิล (fipronil) 25% EC อัตรา 12-15 ซีซี.

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 3:

    กลุ่มย่อย 3A: กลุ่มสารเคมีไพรีทรอยด์

        ไบเฟนทริน (bifenthrin) 10% อัตรา 40-50 ซีซี.[5]

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 4: 

    กลุ่มย่อย 4A: กลุ่มสารเคมีนีโอนิโคตินอยด์

        อิมิดาโคลพริด​ (imidacloprid) 70% WG อัตรา 20-30 กรัม

        ไทอะมีทอกแซม​ (thiamethoxam) 25% WG อัตรา 20-30 กรัม

        ไดโนทีฟูเรน​ (dinotefuran) 20% WG หรือ SG อัตรา 20-30 กรัม

        อะซีทามิพริด (acetamiprid) 20% SP อัตรา 30 กรัม

        โคลไทอะนิดิน (clothianidin) 60% SC อัตรา 20-30 ซีซี.

    กลุ่มย่อย 4C: กลุ่มสารเคมีซัลฟ็อกซิมิน

        ซัลฟอกซาฟลอร์ (sulfoxaflor) 24% SC อัตรา 40-60 ซีซี.

        ซัลฟอกซาฟลอร์ (sulfoxaflor) 50% WG อัตรา 20-30 กรัม

    กลุ่มย่อย 4D: กลุ่มสารเคมีบูทีโนไลด์

        ฟลูไพราดิฟูโรน (flupyradifurone) 20% SL อัตรา 30-40 ซีซี.

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 5: กลุ่มสารเคมีสไปโนซิน 

        สไปนีโทแรม (spinetoram) 12% SC อัตรา 30-40 ซีซี.

        สไปนีโทแรม (spinetoram) 25% WG อัตรา 15-20 กรัม

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 6: กลุ่มสารเคมีอะเวอเมกติน

        อะบาเมกติน (abamecin) 1.8% อัตรา 50-60 ซีซี.[3]

        อะบาเมกติน (abamecin) 2.4% อัตรา 40 ซีซี.[3]

        อีมาเมกตินเบนโซเอต (emamectin benzoate) 1.92% EC อัตรา 40-50 ซีซี.[3]

        อีมาเมกตินเบนโซเอต (emamectin benzoate) 5% WG หรือ SG อัตรา 20-30 กรัม

        อีมาเมกตินเบนโซเอต (emamectin benzoate) 20% WG อัตรา 5-10 กรัม

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 13: กลุ่มสารเคมีเพอร์โรล์

        คลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) 10% อัตรา 40-60 ซีซี.[4]

        คลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) 24% อัตรา 20-30 ซีซี.[4]

        คลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) 40% อัตรา 10-15 ซีซี.[4]

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 21: 

    กลุ่มย่อย 21A: กลุ่มสารเคมีไพริดาซิโนน

        ไพริดาเบน (pyridaben) 13.5% EC อัตรา 50-60 ซีซี.[3], [5], [6]

        ไพริดาเบน (pyridaben) 20% WP อัตรา 30-40 กรัม[5], [6]

        โทลเฟนไพแรด (tolfenpyrad)* 16% EC อัตรา 40-50 ซีซี.[5], [6]

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 23: กลุ่มสารเคมีกรดเตตรามิก

        สไปโรเตตระแมท (spirotetramat) 15% OD อัตรา 50-60 ซีซี.[6]

        สไปโรเตตระแมท (spirotetramat) 24% SC อัตรา 30-40 ซีซี.[6]

        สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) 24% SC อัตรา 30-40 ซีซี.[6]

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 28: กลุ่มสารเคมีไดเอไมด์

        ไซแอนทรานิลิโพรล (cyantranilipole) 10% อัตรา 60-80 ซีซี.[6]

สารกำจัดแมลง กลุ่ม 29: กลุ่มสารเคมีฟลอนิคามิด (ไพริดีน)

        ฟลอนิคามิด (flonicamid) 50% WG อัตรา 15-25 กรัม[6]

[3] สารกำจัดแมลงสูตรผสม EC หรือยาน้ำมัน ควรทดสอบความเป็นพิษก่อนใช้หรือใช้ด้วยความระมัดระวัง

[4] เป็นสารกำจัดแมลงที่เป็น proinsecticide จึงออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า

[5] มีข้อมูลเอกสารระบุมีผลข้างเคียงกำจัดเพลี้ยไฟ

[6] มีข้อมูลในเอกสารบางแหล่ง แต่ผู้เขียนยังไม่มีประสบการณ์หรือทดสอบประสิทธิภาพ

ข้อควรระมัดระวังและเกร็ดเพิ่มเติม:

    1. สารกำจัดแมลง กลุ่ม 4 มีรายงานดื้อยาข้ามกลุ่มกับกลุ่ม 9 ในเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งเป็นแมลงในอันดับเฮมิพเทอร่า หากมีการใช้ยากลุ่ม 4 ควรมีการสลับกลุ่มยาอย่างน้อย 2-3 กลุ่ม ก่อนใช้ยากลุ่ม 9 เช่น พ่นยากลุ่ม 4 จำนวน 2 รอบ สลับด้วยยากลุ่ม 2 จำนวน 2 รอบ สลับด้วยยากลุ่ม 6 จำนวน 2 รอบ ดังนี้แล้วจึงสามารถใช้ยากลุ่ม 9 ได้

    2. คลอร์ฟีนาเพอร์ออกฤทธิ์ช้า เหมาะกับใช้ในลักษณะป้องกันก่อนพบแมลงเข้าทำลาย

    3. อะบาเมกติน ผสมร่วมกับ ไทอะมีทอกแซม จะเสริมฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดไรแดง

    4. สารกำจัดแมลงกลุ่มย่อย เช่น 4A, 4C และ 4D กลไกออกฤทธิ์ที่จุดจับเหมือนกัน ไม่สมควรนำมาสลับกลุ่มกันหรือผสมร่วมกัน เช่นเดียวกับกลุ่ม 1A และ 1B 

    5. สารกำจัดแมลงในกลุ่มเดียวกัน ควรเลือกใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่สมควรนำมาสลับยากัน หรือผสมร่วมกัน

    6. สารกำจัดแมลงที่เหมาะสมในการผสมร่วมกัน โดยมีกลไกออกฤทธิ์เกี่ยวกับระบบประสาทที่ส่งเสริมกัน อาทิเช่น 

        กลุ่ม สารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์กระตุ้นกระแสประสาทมากเกินไป เช่น กลุ่ม 1, 2, 3, 4, 5, 28

        กลุ่ม สารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งกระแสประสาท เช่น กลุ่ม 6, 14, 22

        กลุ่ม สารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างพลังงงานหรือการหายใจระบบเซลล์ เช่น กลุ่ม 12, 13, 20, 21

    7. สารกำจัดแมลงที่ไม่ควรผสมร่วมกัน เนื่องจากกลไกออกฤทธิ์ต้านกันหรือหักล้างกัน เช่น

        กลุ่ม 14 หักล้างกลไกการออกฤทธิ์กลุ่ม 4 และ 5

        กลุ่ม 7 หักล้างกลไกการออกฤทธิ์กลุ่ม 18[7]

[7] กลไกออกฤทธิ์สารกำจัดแมลงกลุ่ม 7 มีแนวโน้มยับยั้งการออกฤทธิ์ของกลุ่ม 18

ตัวอย่างการจัดโปรแกรมการพ่นสารกำจัดแมลง เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

   โปรแกรมที่ 1: ใช้สารกำจัดแมลง กลุ่ม 1 สลับ กลุ่ม 4A+2B สลับ กลุ่ม 6 สลับ กลุ่ม 13 เมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กลุ่ม 5+3A

   โปรแกรมที่ 2: ใช้สารกำจัดแมลง กลุ่ม 1 สลับ กลุ่ม 4A สลับ กลุ่ม 6 สลับ กลุ่ม 13 เมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กลุ่ม 2B+3A

   หมายเหตุ:

   เลือกใช้สารตัวใดตัวหนึ่งจากกลุ่มสารกำจัดแมลงที่ต้องการ หรือในช่วงวิกฤตที่คาดว่าจะเกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ อาจใช้ยา 2 ชนิดจากคนละกลุ่มมาผสมร่วมกัน

    การผสมไวท์ออยล์ หรือพาราฟินออยล์ รวมกับสารกำจัดแมลง โดยประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน พบว่า มีประสิทธิภาพดีกว่าการผสมสารจับใบ หรือสารเร่งซึม, ปิโตรเลี่ยมออยล์ ปกติจะเป็นของเหลวสีดำเข้มและไม่แนะนำ ปัจจุบันพบว่า บริษัทผู้จำหน่ายปิโตรเลี่ยมออยล์บางราย แม้ชื่อสามัญบนฉลากเป็นปิโตรเลี่ยมออยล์แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนเนื้อสารเป็นไวท์ออยล์, การใช้ไวท์ออยล์ หรือพาราฟินออยล์ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังและควรทดสอบความเป็นพิษก่อนใช้เนื่องจากแต่ละบริษัทมีสูตรผสมหรือแหล่งผลิตต่างกันไป บางผลิตภัณฑ์อาจเป็นพิษได้ง่าย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับออยล์ไม่ควรผสมร่วมกับ โพรพาไกต์ สารประกอบคอปเปอร์ กำมะถัน ไทแรม ซิงค์ไทอะโซล ซิงค์ออกไซด์ แคบแทน ฟอสอิทิลอะลูมิเนียม กรดฟอสโฟนิก เป็นต้น

เหตุที่อัตราการใช้สารกำจัดแมลงสูงกว่าคำแนะนำทั่วไป.. (เร็วๆ นี้)

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: