Logo

สะเก็ดแผลโรคแคงเกอร์​ที่หลุดหายไป

Thirasak Chuchoet • July 2, 2024
สะเก็ดแผลโรคแคงเกอร์​ที่หลุดหายไป ในส้ม-มะนาว-ส้มโอ

ภาพ:ผลมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์ เชื้อสาเหตุ: แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv.citri

สะเก็ดแผลโรคแคงเกอร์​ที่หลุดหายไป ในส้ม-มะนาว-ส้มโอ​

    มีคำถามว่า​ ทำไมถึงไม่แนะนำสารประกอบทองแดง​ หรือในชื่อคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์, คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์​, คอปเปอร์ซัลเฟต​ (ไตรเบสิค), คิวปรัสออกไซด์​ และบอร์โดมิกเจอร์  (บอร์โด​ มาจากชื่อเมือง​ บอร์โดซ์​ (Bordeaux)​ ประเทศฝรั่งเศส​ เพราะคิดค้นได้ที่นั้น)​ ในการป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์​ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อ​ ซานโทโมนาส อะโซโนโพดีส (Xanthomonas axonopodis pv.citri)

    คำตอบคือ​ ถ้านานๆ​ พ่นสัก​ครั้ง-สองครั้ง​ คงไม่มีประเด็นอะไร​ แต่โดยทั่วไปมักใช้กันเป็นนิด​-เป็นกิจวัตร​ ไม่พ่นคอปเปอร์นอนไม่หลับ เหตุที่ไม่แนะนำพ่นบ่อยๆ​ และไม่แนะนำพ่นร่วมกับยาอื่นๆ​ เพราะ

    1. คุณสมบัติ​ความเป็นด่าง​ สารประกอบคอปเปอร์มีฤทธิ์​ให้ด่างแก่น้ำ​ หรือตัวทำละลายสูง​ ปกติสารประกอบคอปเปอร์ที่ความเข้มขั้น​ 1% เมื่อละลายน้ำ​ หรืออัตรา​ 10 กรัมต่อน้ำ​ 1 ลิตร​ จะแตกตัวให้ค่า​ pH มากว่า 7​ ขึ้นไป ยาตัวอื่นอาจเสียคุณสมบัติกำจัดโรคหรือแมลงไป

    2. สารประกอบคอปเปอร์​ มีคุณสมบัติฟอกขาว​ หรือกัดผิว​ การพ่นประจำจะทำให้นวลใบ​ (ไขเคลือบผิวใบ)​ บางลง​ และถูกทำลาย​ ทำให้เกิดโรคอื่นๆ​ ตามมาได้ง่าย​ เช่น​ โรคสะแคป​ โรคเมลาโนส และโรคดาวกระจายบนผลส้ม-มะนาว (ความรู้ที่ขาดหายไปตามกาลสมัย)​ ที่สังเกตุได้ง่ายคือ​ ใบหรือผลมักมีสีซีดจางลง​ แลดูไม่มันวาว

    3. สารประกอบคอปเปอร์​ เป็นสารที่มีการใช้มาอย่างยาวนานหลายร้อยปี​ และมีพัฒนาการสารมาอย่างต่อเนื่อง​ ถ้าจำไม่ผิดเริ่มจากสารประกอบคอปเปอร์ที่มีส่วนผสมของสารปรอท​ ต่อมาจึงพัฒนานำสารปรอทออกไป​ จนมาเป็น​ บอร์โดมิกเจอร์​ > คอปเปอร์​ซัลเฟต​ > คิวปรัสออกไซด์​ > คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์​ และคอปเปอร์​ออกซี่คลอไรด์​ คล้ายกับสารประกอบฟอสโฟนิก​ ที่สุดท้ายพัฒนามาเป็น​ ฟอสอิทิลอะลูมิเนียม​ (โดยการทำปฏิกิริยา​ระหว่าง​ กรดฟอสโฟนิก​ กับ​ อะลูมิเนียม)​ การพัฒนา​สารคอปเปอร์​และฟอสโฟนิก​ เพื่อลดความเป็นพิษ​ (หรือมักเรียกทั่วไปว่า​ ยาร้อน)​ แต่กระนั้นก็ยังเป็นพิษอยู่บ้าง​ ในเอกสารกล่าวว่านักบวชชาวคริสต์​ในประเทศฝรั่งเศส​ไม่พอใจกับใบองุ่นที่กระด้าง​ แห้งกร้านเพราะพ่นคอปเปอร์​ แม้จะใช้รักษาโรคราน้ำค้างในองุ่นได้

ภาพ: ใบส้มโอที่เป็นโรคแคงเกอร์ เชื้อสาเหตุ: แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv.citri

    แล้วจะใช้อะไรเพื่อป้องกันกำจัด​โรคแคงเกอร์.?​

    ตอบ​ คาซูกะมัยซิน​ 60​ ซีซี​ + แบคบีท​ (ยากำจัดเชื้อแบคทีเรียภายนอกของ​ บ.มิวสิค​ อะโกร)​ 20 ซีซี​ ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร​ พ่น​ 2-3 ครั้ง​ ทุก​ 10 วัน​ บวกออยล์ทดแทนสารจับใบ

หมายเหตุ:

    หากสงสัยว่าทำไมใช้​ คาซูกะมัยซิน​ อัตราใช้สูงถึง​ 60​ ซีซี..?

    ตอบ​ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อเกือบ​ 20 ปีที่แล้ว​ ครั้งแรกที่ผมรู้จักคาซูกะมัยซิน​ 2% เอกสารแนะนำอัตราขั้นต้นคือ​ 60-80​ ซีซี​ ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร​ ต่อมาเมื่อพบการระบาดของโรคต้นตายใบขาวจากเชื้อแบคทีเรียในหอม​ ที่​ ต.เมืองแปง อ.ปาย​ จ.แม่ฮ่องสอน​ และเขต​ จ.​อุตรดิตถ์​ ได้สอบถามชาวสวนหอมว่า​ ได้พ่น​ คาซูกะมัยซินไหม​

    ตอบว่า​ พ่น​... แต่รักษาโรคไม่ได้

    เมื่อสอบถามต่อ​ จึงได้รู้ว่า​ ใช้อัตรา​ 20​ ซีซี​ ต่อ​น้ำ​ 20​ ลิตร​ เพราะพนักงานขายแนะนำมาอย่างนี้​

    ปัจจุบันหลังระเบียบการขึ้นทะเบียนยาใหม่ประกาศใช้​ ส่วนใหญ่อัตราบนฉลากคาซูกะมัยซิน​ 2% ลดลงเหลือ​ 20-30​ ซีซี​ ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร​ ดีหน่อยก็​ 40​ ซีซี​

    คำถาม​ ยาตัวเดิม​ เปอร์เซ็นต์​เท่าเดิม​ เมื่อกาลเวลาผ่านไป​ อัตราใช้ควรเพิ่มขึ้นหรือลดลง​ และต่อให้มีการเสริมสารปรุงแต่งเพื่อเสริมประสิทธิภาพ​เข้าไปด้วย​ เชื่อว่า​ถ้าหากไม่ใช่เติมสารกำจัดโรคชนิดอื่นลงไปประสิทธิภาพ​คงไม่ดีขึ้นจนผิดหูผิดตา

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: