Logo

ออกซิน.!! ฮอร์โมนพืชเพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผลทุเรียน

Thirasak Chuchoet • May 11, 2024
ออกซิน.!! ฮอร์โมนพืชเพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผล (ทุเรียน)

ออกซิน เป็นฮอร์โมนพืชที่นิยมใช้ในทางการเกษตรมาอย่างช้านานเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในหลายด้าน ปัจจุบันกระแสความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากออกซินมีความสับสนอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้เพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผลในทุเรียน

   ออกซิน มีบทบาทสำคัญในทางการเกษตรในฐานะฮอร์โมนพืช หรือเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้

    1. ควบคุมการเกิดราก โดยกระตุ้นสร้างจุดเจริญของราก การใช้กับกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนในไม้เนื้อแข็งจะต้องใช้ความเข้มข้นสูง ราว 4,000-20,000 ppm (มิลลิกรัมต่อลิตร) สำหรับกิ่งอ่อนหรือไม่มีเนื้อไม้ใช้ความเข้มข้น 500-2,000 ppm

    2. ควบคุมการเกิดตาข้างหรือกิ่งแขนง เช่น ใช้ควบคุมการเกิดกิ่งแขนง กิ่งน้ำค้าง หรือกิ่งกระโดง เมื่อตัดยอดแล้วทาด้วยออกซินความเข้มข้น 40,000-50,000 ppm (สารเอ็นเอเอ 4.5% ไม่ต้องผสมน้ำ)

    3. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช ในลักษณะขยายขนาดในทุกทิศทาง

    4. กระตุ้นการออกดอกในไม้ผลบางชนิด เช่น สับปะรด ใช้ในปริมาณเข้มข้นสูงเพื่อกระตุ้นเอทีลีน จึงเป็นผลทางอ้อม

    5. ลดการหลุดร่วงขอใบ ดอก และผล ในไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น ลางสาด โดยการชะลอการออกฤทธิ์ของกรดแอบไซซิก และควบคุมการเพิ่มปริมาณเอทีลีน

    6. การเปลี่ยนเพศดอกเป็นดอกเพศผู้

    7. การผลิตผลที่ไม่มีเมล็ดให้พัฒนาผลต่อไปได้ ซึ่งมักไม่ค่อยได้ผลหรือขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับฮอร์โมนพืชชนิดอื่น โดยมีรายงานใช้กับผลไม้ที่ไม่ได้รับการผสมเกสรหรือผสมเกสรไม่สมบูรณ์ เช่น สับปะรด สตรอเบอรี่ กล้วย และมะเขือเทศ 

    8. เพิ่มการติดผล ซึ่งผลไม้ที่ตอบสนองต่อการเพิ่มการติดผลจะเป็นผลที่มีเมล็ดมากในผล เช่น มะเขือเทศ พริก ส้ม ส้มโอ 

    9. ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้างและกก สารที่มีฤทธิ์ออกซินสูง เช่น ทู,โฟร์-ดี (2,4-D) และ โฟร์-ซีพีเอ (4-CPA)

ชนิดของฮอร์โมนพืชออกซิน

    ออกซิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามแหล่งที่มา เช่น ออกซินที่พืชสังเคราะห์ขึ้น ส่วนใหญ่พบมากเป็นกรดอินโดล-3-อะซีติก (IAA) และออกซินสังเคราะห์ เช่น เอ็นเอเอ (NAA) ไอบีเอ (IBA) เป็นต้น หรือหากแบ่งตามการใช้งานจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะเช่นกัน ดังนี้

    1. ใช้เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช ได้แก่

        1.1 ไอเอเอ (IAA: Indole-3-acetic acid): ไอเอเอที่สังเคราะห์ขึ้นแม้มีคุณสมบัติและโครงสร้างทางเคมีเหมือนหรือใกล้เคียงกับไอเอเอที่พบในพืช แต่สารที่สังเคราะห์ขึ้นไม่มีความเสถียร การเก็บรักษายุ่งยากและมีราคาแพง จึงไม่นิยมใช้ในภาคปฏิบัติในสวนในไร่

        1.2 เอ็นเอเอ (NAA: 1-naphthyl acetic acid): เป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ของออกซิน มีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้พ่นมากกว่าใช้กระตุ้นการเกิดราก​แต่สามารถใช้ทดแทนไอบีเอในการเกิดรากได้

        1.3 ไอบีเอ (IBA: 4-(indol-3-yl) butryric acid): เป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเกิดรากสูงกว่าเอ็นเอเอ แต่ประสิทธิภาพการใช้พ่นต่ำ ราว พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ยังไม่มีผู้จำหน่ายที่ขึ้นทะเบียนไอบีเอกับกรมวิชาการเกษตร ในอดีตไอบีเอที่นิยมใช้มากที่สุดมีชื่อการค้า ว่า รูทโกร และคาดว่าในอีก 1-3 ปี หลังจากนี้จะมีผู้จัดจำหน่ายที่ขึ้นทะเบียน

    2. ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืช ได้แก่

        2.1 ทู,โฟร์-ดี (2,4-D: 2,4-dichlorophenoxy acetic acid): ห้ามนำมาใช้เพื่อเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากมีฤทธิ์ของออกซินสูงมาก นิยมใช้เป็นสารกำจัดวัชพืช

        2.2 โฟร์-ซีพีเอ (4-CPA: 4-chlorophenoxy acetic acid): มีฤทธิ์เช่นเดียวกับ ทู,โฟร์-ดี

ภาพ: สวนทุเรียนที่ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช พ่นเอ็นเอเอ 4.5% อัตรา 60 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ประมาณ 4 ครั้ง ระหว่างช่วงเดือน ก.พ.-ต้น พ.ค. 2567 (ในสวนมีผลทุเรียนหลายรุ่น)

การใช้ออกซิน (NAA) ลดการหลุดร่วงของดอกและผลในทุเรียน

    การหลุดร่วงของใบ ดอก และผล เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้างชั้นแอบซิสชั่น​ (abscission​ layer) บริเวณข้อต่อส่วนต่างๆ ของพืช ชั้นดังกล่าวเกิดจากการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของเซลล์พาเรนไคมา ซึ่งต่อไปจะพัฒนาเป็นชั้นแยกแซ็พพะเรชั่น​ (separation layer) โดยมีกรดแอบไซซิก​ (abscisic​ acid)​ เป็นตัวควบคุมหรือกระตุ้นการสร้างชั้นแอบซิสชั่น การหลุดร่วงที่เกิดขึ้นจะพบว่า บริเวณดังกล่าวมีปริมาณออกซินลดต่ำลง และมีปริมาณกรดแอบไซซิกกับเอทีลีนสูงขึ้น ดังนั้นการหลุดร่วงของดอกและผลจึงเกี่ยวข้องกับปริมาณออกซินที่ลดลงส่งผลให้มีปริมาณเอทีลีนเพิ่มขึ้น เอทีลีนจึงกระตุ้นการสลายชั้นแยกแซ็พพะเรชั่นทำให้ข้อต่อขั้วดอก-ขั้วผลแยกออกจากกัน

    ในทุเรียนแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการใช้ออกซินในการลดการหลุดร่วงของดอกและผล แต่ก็มีการใช้สารเอ็นเอเอ (NAA 4.5%) เพื่อลดการหลุดร่วงอยู่ก่อนแล้ว สำหรับในพืชอื่นมีรายงานการใช้เอ็นเอเอเพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผล ตัวอย่าง เช่น มะม่วง พ่นเอ็นเอเอความเข้มข้น 10-40 ppm หลังผลอายุ 5-6 สัปดาห์ พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน หรือลางสาด พ่นเอ็นเอเอความเข้มข้น 100-400 ppm ระยะผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ช่วยลดการหลุดร่วงของผลลางสาด (สัมฤทธิ์, พ.ศ. 2557)

    ในช่วง 2-3 ปีมานี้ มีการกล่าวถึงการพ่นออกซินในต้นทุเรียนอายุ 5-6 ปี ที่ให้ผลผลิตปีแรกเพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผลจะทำให้เมล็ดผลทุเรียนหยุดพัฒนา เมล็ดลีบหายไป (ไม่มีเมล็ด) ผลยังพัฒนาต่อไปได้จนถึงระยะเก็บเกี่ยว แต่เมื่อผ่าผลออกมากลับพบว่าผลทุเรียนไม่มีการสร้างเนื้อ เปลือกหนา หนามใหญ่ จึงก่อความกังวลต่อการใช้ออกซิน (NAA 4.5%) ในทุเรียน 

    รัชนี ฉัตรบรรยงค์ และคณะ (พ.ศ. 2563) ทำการศึกษาวิจัยผลของการใช้ฮอร์โมนพืชชนิดต่างๆ ต่อการเจริญพัฒนาของผลทุเรียนพันธุ์พวงมณี พบว่า มีการใช้ออกซินความเข้มข้นสูง (500 และ 1,000 ppm) 2 ครั้ง หลังดอกบาน 3 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ออกซิน ไม่ส่งผลให้ผลทุเรียนพันธุ์พวงมณีมีอาการเมล็ดลีบหาย เปลือกหนา หนามใหญ่และไม่มีเนื้อผลแต่อย่างใด

การใช้ออกซินเพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผลทุเรียน(ผู้เขียน)

    แนะนำพ่นออกซินก่อนที่จะมีการหลุดร่วงของผล หรือพ่นเป็นระยะๆ ทุก 14-21 วัน  (สัมฤทธิ์, พ.ศ. 2557) โดยหากพ่นเป็นระยะๆ พ่นในช่วงดอกเริ่มบานราว 20-30% ต่อเนื่อง ควรพ่นเอ็นเอเอ 4.5% อัตรา 50-60 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร (11-13 ppm) โดยพ่นทุก 19-21 วัน 

    ในกรณีสภาพอากาศร้อนจัด แล้ง หรือมีฝนตกลงมาบ้าง และ/หรือ สภาพต้นไม่สมบูรณ์ ใบในทรงพุ่มน้อย อาหารสะสมไม่เพียงพอ พ่นเอ็นเอเอ 4.5% อัตรา 80 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร (18 ppm) พ่นทุกๆ 19-21 วัน หรืออัตรา 60 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นทุกๆ 14 วัน

    สำหรับในภาวะวิกฤษ เช่น ผลหลุดร่วงมาก อาจพ่นเอ็นเอเอ 4.5% อัตรา 80-100 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร (18-22.5 ppm) พ่นต่อเนื่อง​ 2 ครั้ง​ ห่างกัน​ 10 วัน

“การใช้ฮอร์โมนพืชเสมือนดาบ​ 2 คม​ ใช้น้อยไม่เกิดผล​-ใช้มากโทษอนันต์​ และไม่มีสารใดเพียงชนิดเดียวให้ผลดีครอบจักรวาล​ การลดการหลุดร่วงของดอกและผลควรปฏิบัติ​ควบคู่​ไปกับการพ่นอาหารเสริม​ การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมและการจัดการอื่นๆ​ ประกอบ”

แหล่งสืบค้น:

    เฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ.ไม่ระบุปีพิมพ์.เอกสารคำสอน ฮอร์โมนพืช (Plant Hormones).รายวิชา ชว 456 (BI 456) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.136 หน้า.

    พีรเดช ทองอำไพ.ไม่ทราบปีพิมพ์.สารควบคุมการเจริญเติบโต.ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตร.หน้า 191-203.

    รัชนี ฉัตรบรรยงค์ และคณะ.(วิจัย 2559-2563).ผลของ NAA, GA3, CPPU ต่อการผลิตทุเรียนพวงมณีเมล็ดลีบ.รายงานผลงานโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนคุณภาพระยะที่ 2 (ปี 2559-2563) แผนงานวิจัยแผนบูรณาการวิจัยและพัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจ.

    ลิลลี่ กาวีต๊ะ และคณะ.2560.สรีรวิทยาของพืช.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.270 หน้า.

    สมบุญ เตชัภิญญาวัฒน์.ไม่ทราบปีที่พิมพ์.สรีรวิทยาของพืช.ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.237 หน้า.

    สัมฤทธิ์ เศรษฐวงศ์.2557.การใช้ฮอร์โมนกับไม้ผล.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : เกษตรสยาม.144 หน้า.

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: