Logo

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย

Thirasak Chuchoet • May 28, 2024
โรคใบจุดสนิม /โรคจุดสาหร่าย

    โรคใบจุดสนิม หรือใบจุดสาหร่าย (algal spot) ไม่ได้เกิดจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคพืช​แต่เกิดจากสาหร่ายสีเขียวกึ่งบก ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและเรียกชื่อเป็น"โรค คือ โรคใบจุดสนิม หรือโรคใบจุดสาหร่าย" ซึ่งสามารถเรียกได้ทั้ง 2 แบบ 

   สาเหตุ: สาหร่ายกึ่งบกสีเขียว 

   ชื่อวิทยาศาสตร์: ซีฟาลิวรอส ไวเรสเซนซ์ (Cephaleuros virescens Kunze) 

   วงศ์: Trentepohliaceae

   อันดับ: Trentepohliales

    สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นสาหร่ายปรสิต มีลำดับอนุกรมวิธานอยู่ในเป็นสาหร่ายที่อาศัยอยู่กึ่งบนบก (subaerial) ประกอบไปด้วยเส้นใย (filamentous cells) เป็นสายยาวหรือแตกแขนง (ramulus) และรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อทัลลัส (thallus) สาหร่ายสกุลนี้พบบนพืชอาศัยบริเวณใบ กิ่ง หรือผล​ ในไม้ยืนต้นและไม้ผลเกือบทุกชนิด

    สาหร่ายสีเขียว (ปรสิตพืช) เจริญอยู่ภายในชั้นคิวติเคิล ​อยู่ระหว่างชั้นอิพิเดอมิสและชั้นไขเคลือบผิ​วของพืช ไม่เจริญเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อพืช แม้จะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อพืชมากนัก แต่ก็มีผลเสียต่ออยู่บ้าง เช่น สาหร่ายปรสิตจะอาศัยน้ำและแร่ธาตุอาหารจากพืช หลั่งสารทุติยภูมิที่เป็นพิษ สูญเสียพื้นที่สังเคราะห์ด้วยแสงเป็นผลจากการบดบังของสาหร่ายปรสิต และทำให้ใบพืชมีอายุขัยใบสั้นลงกว่าปกติ

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย: จุดนูนสีขาวอมเทาและจุดสีน้ำตาลแดง

ตรงกลางจุดนูนที่เทามีสีเขียว ซึ้งเป็นระยะที่สาหร่ายกึ่งบกใช้แสงเพื่อการเจริญเติบโต

ลักษณะการเจริญของเส้นใยในระยะที่โรคจุดสาหร่ายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ลักษณะการทำลาย

    อาการเริ่มแรกของโรคใบจุดสนิม /ใบจุดสาหร่าย จะเป็นจุดเล็กๆ นูนขึ้นเล็กน้อย มีสีขาวปนเทา จุดเล็กๆ เหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้นในสภาพความชื้นสูงและได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ เมื่อสาหร่ายแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวก่อน ระยะนี้จะต้องการแสงแดดในการดำรงชีวิต ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) เป็นระยะของการเกิดสปอร์หรือระยะขยายพันธุ์ ลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่สาหร่ายสีเขียวมีโครงสร้างเป็นเส้นใยยาวคล้ายเซลล์พืช เรียงต่อกันเป็นเส้นใยติดกันหลายเส้น ลักษณะของเส้นใยมีการเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ มีการแตกแขนงของเซลล์เจริญแผ่ออกจากจุดศูนย์กลางประกอบขึ้นเป็นเนื้อเยื่อเทียม ลักษณะจุดค่อนข้างกลม

    การสืบพันธ์ มี 2 แบบ คือ 

    1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (sporangia) สาหร่ายปรสิต​จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศซูโอสปอร์ (zoospore) บนก้านชูสปอร์ (sporaniophores) ที่อยู่ด้านบนทัลลัส การขยายพันธุ์สปอร์จะแพร่ไปตามลมและฝน 

    2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (gametangia) พบส่วนขยายพันธุ์​นี้ กระจายอยู่ในทัลลัส มีลักษณะเป็นถุงค่อนข้างกลม ยาว 25-50 ไมครอน และกว้าง 17.5-35 ไมครอน พบอยู่แบบเดี่ยวๆ ในทัลลัสหรือใต้ทัลลัส มีสีเหลืองจนถึงสีส้มสด

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบทุเรียนระยะที่มีการแพร่กระจายของสปอร์สืบพันธุ์

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย ที่มีไลเคนเจริญอยู่ด้วย (คราบสีเขียว) แสดงถึงความชื้นในสวนที่มีมาก

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบทุเรียน

การแพร่ระบาด

    แพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง ทรงพุ่มหนาทึบ มักเริ่มจากใบเก่าของฤดูกาลก่อนหรือใบแก่ที่อยู่ในทรงพุ่มด้านใน สาหร่ายจะบดบังพื้นที่ใบสำหรับใช้ในการสังเคราะห์แสงและใบร่วงหล่นก่อนกำหนด ถ้าสาหร่ายขึ้นตามกิ่งจะสร้างรากเทียมชอนไชเข้าไปในเปลือก​ ทำให้กิ่งทรุดโทรม

การป้องกันกำจัด 

    หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งจัดทรงพุ่มและตัดแต่งกิ่งแขนงภายในทรงพุ่มออก เพื่อให้อากาศถ่ายเท ลดความชื้นภายในทรงพุ่มและให้แสงส่องถึง (ไม่ควรตัดแต่งกิ่งจนโล่งเกินไป) หลังจากนั้นจึงพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ด้วย กลุ่มสารประกอบคอปเปอร์​ (กลุ่ม M01) ​ เช่น​ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77%,​ คอปเปอร์​ออกซี่คลอไรด์​ 85%, คอปเปอร์​ออกซี่คลอไรด์​ 24.6%+คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 22.9%,​ คอปเปอร์​ซัลเฟต​ (ไตรเบสิค) 34.5%,​ คิวปรัสออกไซด์ 86.2%, ​ หรือบอร์โดมิกซ์เจอร์ 33.7% อัตรา 50-60 กรัม (หรือ ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรผสมสารจับใบหรือสารลดแรง​ตรึง​ผิว​ร่วมด้วย พ่นอย่างน้อย 2-3​ ครั้ง ห่างกัน ทุก 7-10​ วัน 

    เมื่อเข้าฤดูฝนใหม่ๆ และหลังฤดูฝน พ่นป้องกันและกำจัดตามคำแนะนำข้างต้น 1-2 ครั้ง เพื่อลดการแพร่ระบาด

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบมะม่วง

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบมะนาว

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบพืชตระกูลส้ม-มะนาว

แหล่งสืบค้น:

  นราสินี ถี่ถ้วน และอนุรักษ์ สันป่าเป้า.Cephaleuros virescens complex สาเหตุโรคจุดสาหร่ายในพืชอาศัยจำปีและจำปีสิรินธร.แก่นเกษตร 44 ฉบับพิเศษ 1 : (2559).หน้า 911-917.

  นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 172 หน้า.

  ยงยุทธ ธำรงนิมิต.2553.โรคไม้ผล.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ.เกษตรสยามบุ๊คส์.136 หน้า.

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: