Logo

ไล่น้ำตาลลงท้องกิ่ง

Thirasak Chuchoet • July 23, 2024
ไล่น้ำตาลลงท้องกิ่ง​ หรือการสะสมอาหาร.!!
ไล่น้ำตาลลงท้องกิ่ง หรือการสะสมอาหาร​ (Carbohydrates and nutrients accumulation) 

    การสะสมอาหารในไม้ผล​ คือ​การเคลื่อนย้ายสารอาหารที่เหลือจากการใช้ไปเก็บสะสม​ โดยเฉพาะ​น้ำตาลและกรดอะมิโน​ ดังนั้น​ หากใบแก่สร้างน้ำตาลได้แค่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละวันหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ​ การสะสมอาหารคงไม่เกิดขึ้น​ แต่ในสภาพความเป็นจริงหากไม่มีการแตกใบอ่อนอย่างต่อเนื่องหรือออกดอก-ติดผล ดกมากๆ​ การสะสมอาหารย่อมเกิดขึ้นหากพืชได้รับแสง​ น้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​ อย่างเพียงพอ

   การสร้างน้ำตาลของพืช​

    การสร้างหรือผลิตน้ำตาลของพืช เกิดจากการสังเคราะห์​แสงโดยใช้วัตถุดิบ​ 2 อย่าง​ คือ

   1. น้ำ​ ได้ผ่านทางราก​: น้ำ​ราว​ 92-98% ถูกคายออกทางปากใบเพื่อรักษาอุณหภูมิ​ของใบ อีก​ราว 2-8% เก็บไว้ใช้

   2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​: แพร่ผ่านเข้าทางปากใบขณะคายน้ำ

    ซึ่งใช้แสงแดดเป็นแหล่งพลังงานในการสร้าง​น้ำตาล​ โดยเม็ดสีที่ชื่อ  ​"คลอโรฟิลล์"​ เป็นตัวเก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงแดด​ ทั้งคลอโรฟิลล์และการสังเคราะห์​แสงเกิดขึ้นในอวัยวะระดับเซลล์ (organelle) ที่ชื่อ  ​"คลอโรพ​ลาสต์"​

    น้ำ + คาร์บอนไดออกไซด์ ​+ แสงแดด​ ได้น้ำตาลตัวแรก​ คือ  น้ำตาลไตรโอส​ (triose​) ก่อนจะเปลี่ยนไตรโอสเป็นน้ำตาลกลู​โคส (glucose)​ น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ​ พืชกักเก็บไว้ในรูปของแป้งและเซลลูโลส​ ตามกิ่ง​ ลำต้น​ ผล​ (หัว​ เช่น​ หัวเผือก​ หัวมัน)​ และใบบางส่วน

    การสังเคราะห์​แสงนอกจากอาศัย​วัตถุ​ดิบและแสงแดดแล้ว​การเปิดปากใบเพื่อคายน้ำและได้คาร์บอน​ไดออกไซด์​ จะต้องอาศัยโพแทสเซียม​เข้าไปคลั่งอยู่ที่ปากใบ​ (ในเซลล์คุม: guard cell) หลังจากนั้น​น้ำจึงจะเข้าสู่ปากใบ​ ทำให้ปากใบเต่งและเปิดอ่าออก

กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช อาศัยวัตถุดิบ คือน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้พลังงานในการสังเคราะห์จากแสงแดด

การเปิด-ปิดปากใบ อาศัยการเข้าไปคลั่งของโพแทสเซียมที่เซลล์คุม ทำให้น้ำจากเซลล์ข้างเคียงแพร่เข้าทำให้เซลล์คุมเต่ง ปากใบจึงเปิดอ่าออก

กระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นการเก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงแดดในช่วงความยาวคลื่นแสง 380-700 นาโนเมตร เกิดการถ่ายอิเล็กตรอนภายในเยื่อหุ้มไทลอคอยด์ชั้นใน ได้สร้างให้พลังงาน ATP และ NADPH ซึ่งนำไปใช้ในวััฏจักรคาลวิน เพื่อสร้างน้ำตาล

   การเคลื่อนย้ายน้ำตาล​ และสะสมอาหาร

    การเคลื่อนย้ายสารอาหารภายในท่อลำเลียงอาหารของพืช ​ส่วนใหญ่​ราว​ 90-94% เป็นน้ำตาล​ ราว​4-5​% เป็นกรดอะมิโน​ และที่เหลืออีก​ 2-4% เป็นธาตุอาหาร ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายจากใบแก่ที่ได้รับแสงแดด​ไปสู่ส่วนที่ต้องการน้ำตาลและสารอาหาร​ เช่น​ ใบอ่อน​ ใบที่ไม่ถูกแสง​ (ใบในเรือนพุ่มด้านในทรงพุ่ม) ดอก​ ผล​ และราก​ 

    ในไม้ผล​ น้ำตาลส่วนเกินจะถูกส่งไปกักเก็บในกิ่งและลำต้นเป็นหลัก

    การเคลื่อนย้ายน้ำตาลและกรดอะมิโน​ จะเริ่มจากเซลล์ที่สังเคราะห์​แสงได้น้ำตาลกลูโคส​ โดยน้ำตาลกลูโคสจะแพร่เข้าสู่เซลล์ข้างๆ​ เส้นใบ​ (เซลล์ประกบ: companion cell) และเซลล์ประกบ​นี้จะเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคส​เป็นน้ำตาลซูโครสก่อน แล้วจึงส่งไปยังเส้นใบ​ผ่านช่องเล็กๆ​ ชื่อ​ "พลาสโมเดสมาตา​ (plasmodesmata)"​ เป็นการส่งแบบ​ไม่ใช้พลังงาน​ (passive transport) และส่งผ่านผนังเซลล์โดยตรง​ ซึ่งต้องใช้พลังงาน​ (active transport) จากสารให้พลังงานที่ชื่อ​ ATP​ 

   โดย​ ATP​ ย่อมาจาก​: A​ = อะดีโนซีน​ (อะดีนิน​ + น้ำตาลไรโบส)​, T = ไตร​ (จำนวน​ 3) และ P = ฟอสเฟต​ จึงหมายถึง​ อะดีโนซีน​ที่รวมตัวกับฟอสเฟต​ 3 ตัว​ (A+[P~P~P])

    การใช้พลังงานเป็นการทำให้ฟอสเฟตตัวสุดท้าย  ​(~P) หลุดออก​และปลดปล่อยพลังงานออกมา​ ฟอสเฟตที่หลุดออกมา​จะสามารถ​วนนำกลับไปสร้าง​ ATP​ ใหม่ได้​ (รีไซเคิล)​ จึงเป็นเหตุให้พบฟอสฟอรัส/ฟอสเฟตในพืชน้อยมากเมื่อเทียบกับธาตุหลักและธาตุรอง​ ถ้าพืชได้รับฟอสเฟตมากกว่าปกติ​ จะกักเก็บไว้ในถุงเก็บสารที่ชื่อ ​"แวคิวโอล​ (vacuole)"​ ภายในเซลล์​ หากมีมากเกินกักเก็บ​ฟอสเฟตจะทะลัก​ออกจากถุงและจับตัวกับธาตุประจุบวกอื่นๆ​ ที่อยู่ภายในของเหลวของเซลล์ เกิดการตกตะกอนและเป็นพิษ​ เช่น​ แคลเซียม​ แมกนีเซียม​ สังกะสี​ เหล็ก​ แมงกานีส​ และคอปเปอร์​ ซึ่งถ้าฟอสเฟตมีมากเกินไปนิดหน่อยการตกตะกอนจะไม่ค่อยเกิดขึ้น​ (เจือจาง)​ ดังนั้น​ การพ่นฟอสฟอรัสทางใบอัตราสูงและบ่อย​ จึงเป็นการยัดเยียด​ให้เซลล์พืชได้รับฟอสเฟตมากเกินไปจนก่อความเป็นพิษ

การลำเลียงสารอาหารภายในพืช จากใบแก่ไปสู่ส่วนต่างๆ ต้องอาศัยธาตุโพแทสเซียมมากเป็นพิเศษ ดังนั้น โพแทสเซียม จึงมีบทบาทในการลำเลียงน้ำตาล

    เซลล์ประกบเส้นใบ​ เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคส​ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว​)​ เป็นซูโครส​ (น้ำตาลโมเลกุลคู่)​ ก่อนส่งเข้าสู่เส้นใบซึ่งมีท่ออาหาร​ เพราะซูโครส​ แทบจะ​ไม่จับกับกรดอะมิโนหรือธาตุอื่นในท่ออาหาร​ น้ำตาลจึงไม่ตกตะกอนหรือเป็นสารอื่นก่อนส่งถึงปลายทาง​

    การขนส่งกรดอะมิโนและธาตุอื่นๆ​ จากเซลล์ใบไปยังเส้นใบมีหลักการเช่นเดียวกับน้ำตาล

    ในท่ออาหาร​ หรือท่อลำเลียงอาหาร​ (phloem)​ จะมีโพแทสเซียมและน้ำอยู่​ เมื่อซูโครส​ กรดอะมิโนหรือธาตุต่างๆ ถูกลำเลียงเข้าสู่ท่ออาหาร​ในบริเวณเส้นใบ​ (ท่ออาหารมีลักษณะเป็นปล้องๆ และมีช่องผ่านภายใน ลักษณะคล้ายตะแกรง) จะทำให้ค่า pH ภายในเปลี่ยนแปลง​ ดังนั้น​ โพแทสเซียม​ (K)​ จึงแพร่เข้าสู่ท่ออาหารเพื่อปรับสมดุลย์​ค่า​ pH ซึ่งมีผลทำให้ความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น​ น้ำที่อยู่ในท่อน้ำ​ (xylem) ข้างๆ​ ท่ออาหาร จึงไหลเข้าสู่ท่ออาหาร​บริเวณความเข้มข้นสูง​ (ออสโมซีส)​ ตามกฏการแพร่ของน้ำ​ จากที่เจือจางผ่านเยื้อหุ้มไปสู่ที่เข้มข้น

    เมื่อน้ำไหลเข้าสู่ท่ออาหาร​ จึงเกิดแรงบีบกด​ (turgor pressure)​ และทำให้เกิดแรง​ผลักดัน​ (pressure flow) ดันน้ำตาลซูโครส​ กรดอะมิโนและธาตุอื่นๆ​ ไหลไปตามท่ออาหารไปสู่ส่วนของท่ออาหารที่มีความเข้มข้นต่ำ​ ซึ่งก็คือ​ ใบอ่อน​ ใบเพสลาด​ ดอก​และผล​ ซึ่งรวมถึง​ท้องกิ่งด้วย​ 

    การทำหน้าที่ของโพแทสเซียมนี้​ จึงกล่าวว่า  ​โพแทสเซียม​มีบทบาทในการเคลื่อนย้ายน้ำตาล​ ซึ่งฟอสเฟตมีบทบาททางอ้อมและน้อย​ (โดยส่วนตัว จึงเปรียบเทียบหน้าที่ของโพแทสเซียม (K​) ที่มีบทบาทเคลื่อนย้ายน้ำตาลเสมือน  ​"หัวรถลากขนส่งสินค้า")​

    ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวล จึงเป็นที่มาของคำแนะนำในการสะสมอาหาร ดังนี้

   - การสะสมอาหารทางดิน: หว่านด้วยปุ๋ยสูตร 15-5-20 หรือ 15-5-25 ในระยะการพัฒนาของใบ หรือระยะสร้างชุดใบ ส่วนระยะเตรียมต้นก่อนการทำดอก หว่านด้วยปุ๋ยสูตร 15-5-25, 14-7-35, 15-5-35 หรือ 10-10-30 เป็นต้น

   - การสะสมอาหารทางใบ: พ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยเม็ดละลายน้ำ เช่น

  • สูตรเม็ดละลายน้ำ สูตร 15-5-25 (ปุ๋ย 3 ระบบ ของบริษัทดวงตะวันเพชร) อัตรา 1-1.5 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ
  • ปุ๋ยน้ำสูตร 10-5-20,  ปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-10-30, 15-10-30, 5-14-38 หรือ 9-19-34 อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ
  • ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 1 ขีด ผสม สูตร 0-0-50 อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร

      โดยพ่นรวมกับกรดอะมิโน และธาตุรวม 7-8 ชนิด

เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
โรคใบจุดมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกัน-กำจัดโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบจุดในมะละกอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย การป้องกันและจัดการโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างเหมาะสม การกำจัดใบที่ติดเชื้อและการเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญ
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งใบ ลำต้นและผล
By Thirasak Chuchoet October 5, 2024
โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่สำคัญของมะเขือเทศ สร้างทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับใบ กิ่งก้าน ลำต้นและผล การจัดการต้องอาศัยการปฏิบัติทางเกษตรที่เหมาะสม และการควบคุมโรคผ่านการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชร่วมกับวิธีเขตกรรม
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี
By Thirasak Chuchoet September 30, 2024
โรคแอนแทรคโนสในผลมะละกอ ปัญหาที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดแผลเน่าบุ๋มในระยะสุกแก่หรือผลเปลี่ยนสี แต่ระยะเก็บเกี่ยวผลไม่ปรากฏอาการของโรค ซึ่งเป็นรูปแบบการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง
More Posts
Share by: