ผสมปุ๋ยเกล็ดใช่เอง.!! สูตรสะสมอาหาร-บล็อกใบอ่อน

Thirasak Chuchoet • April 23, 2025

ผสมปุ๋ยเกล็ดใช่เอง.!! สูตรสะสมอาหาร-บล็อกใบอ่อน

    แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยเกรด G-grade จากปุ๋ยดวงตะวันเพชร สำหรับใช้พ่นทางใบสูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน

    1. สูตรปุ๋ยสะสมอาหาร

        ปุ๋ยเกล็ดสูตร 8-20-42 บวก TE ปุ๋ยสูตรโยกหลัง สัดส่วน ไนโตรเจน (N) ต่อ ฟอสฟอรัส (P) ต่อ โพแทสเซียม (K) เท่ากับ 1:2:4 สำหรับผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นทางใบ โดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่มเมื่อใบชุดสุดท้ายเข้าสู่ระยะใบเพสลาดหรือใบพวง พ่นต่อเนื่องทุก 7-10 วัน จนใบชุดสุดท้ายมีอายุ 75-90 วัน แล้วจึงเริ่มเปิดตาดอก

       แม่ปุ๋ยเกล็ด และธาตุรอง-จุลธาตุ ประกอบด้วย

       1.1) ไฮโดรเมทมิกซ์-อีดีทีเอ ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 100 กรัม

       1.2) ไฮโดรเมทแคลเซียม 9% อีดีทีเอ ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 200 กรัม

       1.3) ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 300 กรัม

       1.4) ปุ๋ยเกล็ด สูตร 13-0-46 ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 500 กรัม

       ผสมปุ๋ยที่กำหนดทีละตัวและคนให้ละลายน้ำก่อนผสมปุ๋ยตัวถัดไป (เรียงลำดับจาก 1.1 ถึง 1.4) ในน้ำ 140-160 ลิตร เมื่อผสมปุ๋ยครบแล้วจึงเติมน้ำให้ครบ 200 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มและใบ

       สูตรปุ๋ยสะสมอาหาร 8-20-42 บวก TE ปริมาณ 1,100 กรัม ประกอบไปด้วยธาตุอาหาร ดังภาพ

    2. สูตรปุ๋ยเบรกใบอ่อน-บล็อคใบอ่อน

        ปุ๋ยเกล็ดสูตร 0-20-44 บวก TE ปุ๋ยสูตรโยกหลัง สัดส่วน ไนโตรเจน (N) ต่อ ฟอสฟอรัส (P) ต่อ โพแทสเซียม (K) เท่ากับ 0:1:2 สำหรับผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มเมื่อแตกใบอ่อนในระยะที่ไม่พึ่งประสงค์ พ่นต่อเนื่องทุก 4-5 วัน ในช่วงมีฝนตกต่อเนื่อง หรือพ่นทุก 5-7 วัน ในระยะไม่มีฝน โดยพ่นต่อเนื่องจนใบอ่อนหยุดไหล

       แม่ปุ๋ยเกล็ด และธาตุรอง-จุลธาตุ ประกอบด้วย

       1.1) ไฮโดรเมทมิกซ์-อีดีทีเอ ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 200 กรัม

       1.2) ไฮโดรเมทแคลเซียม 9% อีดีทีเอ ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 100 กรัม

       1.3) ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 300 กรัม

       1.4) ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-0-50 ดวงตะวันเพชร ปริมาณ 500 กรัม

       ผสมปุ๋ยที่กำหนดทีละตัวและคนให้ละลายน้ำก่อนผสมปุ๋ยตัวถัดไป (เรียงลำดับจาก 1.1 ถึง 1.4) ในน้ำ 140-160 ลิตร เมื่อผสมปุ๋ยครบแล้วจึงเติมน้ำให้ครบ 200 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มใบ โดยเฉพาะจุดที่แตกใบอ่อน

       สูตรปุ๋ยสะสมอาหาร 0-20-44 บวก TE จะประกอบไปด้วยธาตุอาหาร ดังภาพ

เพิ่มเติม

        [1] เกรดปุ๋ย G-grade หมายถึง ปุ๋ยที่มีคุณสมบัติละลายน้ำหมดจด โดยอักษร G ย่อมาจาก Greenhouse มีนิยามหมายถึงระดับความสามารถการละลายของปุ๋ย ซึ่งนิยมใช้เป็นแม่ปุ๋ยระบบน้ำ แม่ปุ๋ยเกล็ดสูตรต่างๆ แม่ปุ๋ยน้ำ-ปุ๋ยเหลว หรือแม่ปุ๋ยน้ำในระบบปลูกไฮโดรโพนิกส์ (การปลูกพืชไม่ใช้ดิน)

        [2] TE ย่อมาจาก Trace Elements หมายถึงปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุเสริม (Micronutrients) ในที่นี้จะหมายรวมถึงปุ๋ยธาตุรองบางตัวด้วย

        [3] ไฮโดรเมทมิกซ์-อีดีทีเอ เป็นธาตุรอง-จุลธาตุ 7 ชนิดที่เป็นคีเลตในรูป คีเลต-อีดีทีเอ ได้แก่ แมกนีเซียม 4%, เหล็ก 3%, แมงกานีส 3%, ทองแดง 1%, สังกะสี 1%, โบรอน 0.5% และโมลิบดินั่ม 0.1% ช่วยป้องกันการจับตัวกันของปุ๋ยแล้วตกตะกอนก้นถังยา หรือเป็นคราบติดตามใบ ซึ่งพืชดูดใช้ประโยชน์ไม่ได้

        [4] ไฮโดรเมทแคลเซียม 9% อีดีทีเอ เป็นธาตุรองแคลเซียม คีเลต-อีดีทีเอ (Ca-EDTA) ช่วยป้องกันการจับตัวกันของปุ๋ยแล้วตกตะกอนก้นถังยา หรือเป็นคราบติดตามใบ ซึ่งพืชดูดใช้ประโยชน์ไม่ได้

        [5] ใบพวง คือระยะใบเพสลาด มักนิยมใช้กับมะม่วง

    ATP: Adenosine Triphosphate เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อพืช
By Thirasak Chuchoet April 25, 2025
ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกคีเลต
By Thirasak Chuchoet April 22, 2025
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกนีเซียมคีเลต
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
แพคโคลบิวทราโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินและส่งเสริมการออกดอกนอกฤดู
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
พ่นสารแพคโคลบิวทราโซล​ร่วมกับ​เหล้าขาว​​ จะส่งเสริมการออกดอกของทุเรียนดีกว่าไม่ผสมเหล้าข้าว.. จริงหรือ..? หรือแค่อุปทานไปเอง.!!
More Posts