เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี?
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.?
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.?
เมื่อจะเลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ระหว่าง แมกนีเซียมไนเตรท (Mg(NO₃)₂), แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต (MgSO₄•7H₂O) และแมกนีเซียมคีเลต (Mg-chelating) เพื่อเร่งใบแก่หรือทำให้ใบพืชเขียวเข้ม จะพิจารณาจากอะไรได้บ้าง.. ไปดู


ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท 10-0-0
ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท ; สูตรโครงสร้าง Mg(NO₃)₂
ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท หรือปุ๋ยสูตร 10-0-0 + Mg 9% เป็นปุ๋ยเกรดละลายน้ำ (G-grade) ใช้ผสมน้ำพ่นทางใบ หว่าน และเป็นปุ๋ยระบบน้ำหรือปุ๋ยน้ำไฮโดรโพนิกส์
ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท มีปริมาณปุ๋ยไนโตรเจน (N) ราว 10-11% (โดยมากบนฉลากระบุ 10%) ไม่มีฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เป็นส่วนประกอบ และมีปริมาณแมกนีเซียมระบุ 2 รูปแบบ คือ แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) 15-16% หรือ แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ (Mg) ไม่รวมออกไซด์ (O) ซึ่งมีแมกนีเซียม 9-9.5% (ปัจจุบันระเบียบการขึ้นทะเบียนให้ระบุเฉพาะแมกนีเซียม ไม่รวมออกไซด์)
แมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร ประกอบด้วยไนโตรเจน 10% ในรูปไนเตรท ซึ่งไนเตรทมีสมบัติกระตุ้นการแตกตาดอก เมื่อสัดส่วน C:N เรโช โดยมี C มากกว่า N และพืชสามารถดูดซึมเปลี่ยนเป็นโครงสร้างสารสีเขียวในพืช (คลอโรฟิลล์) ได้รวดเร็วและปลอดภัยกว่าแอมโมเนียม และมีแมกนีเซียมละลายน้ำที่เป็นประโยชน์ 9% ดังนั้น การเปลี่ยนจากใบระยะเพสลาดเป็นใบแก่จึงทำได้ดี เนื่องจากใบพืชจะมีสีเขียวเพิ่มขึ้นต้องอาศัยสัดส่วนของไนโตรเจน 4 ต่อ 1 แมกนีเซียม
พ่นแมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร เพื่อกระตุ้นตาดอก ใช้อัตรา 200 กรัม ผสมกับปุ๋ยเกล็ด 13-0-46 (ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท สูตร G-grade ดวงตะวันเพชร) อัตรา 1,000-1,500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นบริเวณตำแหน่งเกิดตาดอกในไม้ผลได้ทุกชนิด โดยพ่นต่อเนื่องทุก 5-7 วัน ราว 2-4 ครั้ง หลังสะสมอาหารและต้นพร้อม หรือหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายมีอายุ 75-90 วัน, ควรผสมไฮโดรเมทซีวีด อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตรด้วย
*ไฮโดรเมทซีวีด สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล สกัดด้วยเอนไซเมติกและสเปรย์ดรายเทคโนโลยี
หว่านแมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร ทางดินกระตุ้นการแตกรากใหม่ เนื่องจากไนเตรทมีคุณสมบัติคล้ายกลุ่มฮอร์โมนพืช และจัดเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต จึงส่งเสริมการสร้างรากใหม่ โดยหว่านแมกนีเซียมไนเตรท อัตรา 100-200 กรัม ร่วมกับปุ๋ยไฮทาวเวอร์ 29-9-9 อัตรา 700-1,000 กรัม ต่อต้น (สำหรับไม่ผลอายุ 6-7 ปี ขึ้นไป หรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 7-8 เมตรขึ้นไป) และพ่นดินหรือราดดินตามด้วยแบล็กเอิร์ธ โพแทสเซียมฮิวเมท อัตรา 300-500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร
การพ่นทางใบเร่งใบแก่เร็วขึ้น โดยใช้อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นร่วมกับปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร 0-52-34 (สูตร G-grade) อัตรา 250-300 กรัม และปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร 0-0-50 (สูตร G-grade) อัตรา 500 กรัม พ่นเมื่อใบเริ่มคลี่กาง ทุก 4-7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง
การเปลี่ยนสีใบจากสีเขียวอ่อนของระยะใบอ่อน-เพสลาด เป็น ใบแก่สีเขียวเข้ม คือการเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ โดยสีเขียวที่เรามองเห็นก็คือคลอโรฟิลล์นั้นเอง เมื่อคลอโรฟิลล์มีมากก็จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม
โครงสร้างหลักของคลอโรฟิลล์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนหัวและส่วนหาง ซึ่งส่วนหัวตรงใจกลางจะเป็นการเข้าคู่กันของแมกนีเซียมกับไนโตรเจนในสัดส่วน แมกนีเซียม 1 ต่อ 4 ไนโตรเจน และใช้ส่วนหางยึดจับกับเยื้อหุ้มไทลาคอยด์ ภายในคลอโรพลาสต์ของอวัยวะระดับเซลล์พืช ดังนั้น แมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร จึงส่งเสริมให้ใบแก่เร็วขึ้นได้ดี


แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต
แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ; สูตรโครงสร้าง MgSO₄•7H₂O
แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ดวงตะวันเพชร เป็นแมกนีเซียมซัลเฟตชนิดเม็ดเกล็ดละลายน้ำ สูตร G-grade (คนละชนิดกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตที่ใช้หว่านทางดิน)
ถอดความปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ดวงตะวันเพชร คือปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 7 โมเลกุล (magnesium sulphate heptahydrate) ดังนี้
เฮพตะ หรือบางครั้งออกเสียงว่า เฮปตะ (hapta) หมายถึง จำนวน 7
ไฮเดรต (hydrate) หรือ ไฮโดร หมายถึง เกี่ยวกับน้ำ หรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
ฉนั้น เฮพตะไฮเดรต จะเท่ากับมี น้ำ 7 โมเลกุล ในโครงสร้างแมกนีเซียมซัลเฟต สูตรโครงสร้าง คือ MgSO₄•7H₂O
Mg ย่อมาจาก แมกนีเซียม
SO₄ คือ ซัลเฟต ประกอบด้วยกำมะถัน 1 (S) และออกซิเจน 4 (O₄)
H₂O คือโครงสร้างเคมีของน้ำ โดยมีเลข 7 กำกับด้านหน้าจะหมายถึง มีน้ำ 7 โมเลกุล (7H₂O)
ฉลากบนกระสอบปุ๋ยจะระบุเปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ (Mg) 9% หรือบางครั้งอาจยังพบเห็นระบุเป็น แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) 16% และมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์ ในรูปซัลเฟต (SO₄) 12%
ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต จะไม่มีไนโตรเจน ดังนั้น สำหรับท่านที่กังวลเรื่องไนโตรเจนจะส่งผลให้แตกใบอ่อน แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ดวงตะวันเพชร จึงเป็นคำตอบ อีกทั้งยังได้ซัลเฟต ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโนพืชหลายชนิด
การใช้พ่นเร่งใบแก่เร็วด้วย แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ดวงตะวันเพชร ใช้อัตรา 200-300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร โดยพ่นร่วมกับปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร 0-52-34 (สูตร G-grade) อัตรา 250-300 กรัม และปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร 0-0-50 (สูตร G-grade) อัตรา 500 กรัม พ่นเมื่อใบเริ่มคลี่กาง ทุก 4-7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง
แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ดวงตะวันเพชร มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ดีเกลือฝรั่ง”

ปุ๋ยแมกนีเซียมคีเลต ; Mg-chelating
ปุ๋ยแมกนีเซียมคีเลต ; Mg-chelating
ไฮโดรเมทแมกนีเซียมคีเลต ดวงตะวันเพชร เป็นปุ๋ยธาตุรองในรูปคีเลต-อีดีทีเอ แท้ 100% (Mg-EDTA) มีแมกนีเซียม 6%
คีเลตแท้ 100% คำตอบการการผสมปุ๋ยพ่นทางใบและปุ๋ยระบบน้ำ เสริมแมกนีเซียมธาตุอาหารพืช แก้ไขการขาดธาตุเร่งด่วน เร่งใบแก่เพิ่มใบเขียวเข้ม และเพิ่มการสังเคราะห์แสงของพืช
คำตอบของการผสมปุ๋ยพ่นทางใบ เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟต: ไฮโดรเมทแมกนีเซียมในรูปคีเลต ช่วยลดปัญหาการตกตะกอนของธาตุระหว่างแมกนีเซียมกับฟอสฟอรัส เมื่อผสมร่วมกันในถังพ่นยาหรือป้องกันการเกิดคราบขาวที่ใบ ดอกและผลหลังพ่น อีกทั้งยังช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารทั้ง 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คราบขาวที่เกิดขึ้นพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้หรือดูดซึมได้)
นอกจากนี้ การใช้ไฮโดรเมทแคลเซียม-อีดีทีเอ 9% ทดแทนการใช้ปุ๋ยแคลเซียมโบรอน เมื่อต้องผสมร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัส ก็ช่วยป้องกันการตกตะกอนและเกิดคราบเช่นกัน
ไฮโดรเมทแมกนีเซียมคีเลต ดวงตะวันเพชร อัตราใช้ 150-200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช พ่นเร่งใบแก่ พ่นสะสมอาหาร โดยผสมร่วมกับปุ๋ยหรืออาหารเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย (เช่นเดียวกับแมกนีเซียมก่อนหน้า)



